หนังสือใหม่
:: eBOOK pdf file :
|
บันทึกธรรม๑ สิ้นตัวตน พ้นสงสาร
คุณแม่สมส่วน ศักดิ์ดีวงศ์
|
|
เวลาชีวิต
เวลา ชีวิต เพื่อสิ่งใด
ธรรมะ จาก พระภาวนาเขมคุณ วิ.
( พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
สำนักปฏิบัติธรรมกรรมฐาน วัดมเหยงคณ์
กับคำถามสำคัญที่ทุกคนต้องตอบตัวเองเนืองๆ
ใช้เวลาอันจำกัดให้มีคุณค่า
เลือกสรรสิ่งดีให้ชีวิต
ให้คู่ควรที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนา
|
|
อันความกรุณาปราณี
ประพันธ์โดย วศิน อินทสระ
นวนิยายอิงอัตตชีวประวัติของผู้เขียน
น้ำใจอันงดงามอยู่ในความทรงจำตลอดมา
มีคุณค่าแก่สรรพชีวิตให้ฝ่าฟันผ่านพ้นปัญหา
ขอส่งต่อทุกคุณความดีให้แผ่ไพศาลไปในสังคม
|
|
ทีวีชีวิต
โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
|
|
มรรค
โดย พระอาจารย์เจฟฟรีย์ ฐานิสสโร
|
|
คิดให้สบาย...ก็ไม่เป็น
พระอาจารย์ครรชิต สุทฺธิจิตฺโต วัดป่าภูไม้ฮาว อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
|
|
อริยมรรค ภาคปฏิบัติ
คู่มือปฏิบัติธรรม แนวสัมมาทิฏฐิ (ฉบับปรับปรุง)
พระอาจารย์ครรชิต สุทฺธิจิตฺโต วัดป่าภูไม้ฮาว อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
|
|
เรือนชีวิต
เรือนแห่งการเรียนรู้กายใจ จากพระธรรมเทศนา อันทรงคุณค่า ของ พระภาวนาเขมคุณ วิ. (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี) รวมปฏิทินกิจกรรมและการภาวนา ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๖๔ วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
|
|
ปีใหม่ ชีวิตใหม่ จิตใหม่
โดย พระอาจารย์ ครรชิต อกิญจโน
"วันคืนผ่านไปล่วงไป... บัดนี้เราควร
จะเป็นคนใหม่ได้แล้วนะ...
จากชีวิตเดิมๆ ที่อยู่กับความเคยชิน
เกาะเกี่ยวอยู่แต่กับอารมณ์เก่าๆ
ไม่ตระหนักในความจริงของชีวิต
เปลี่ยนเป็นคนใหม่ มีจิตใหม่ ที่ตื่นรู้
เปลี่ยนจากจิตใจข้างในออกมา
จิตใหม่...มันจะเกิดขึ้นตรงนี้
เป็นจิตที่ไม่ทุกข์.... คุณสามารถทำได้!"
|
|
ออกแบบชีวิต
โดย พระไพศาล วิสาโล
เนื้อหาในหนังสือพูดถึง
การออกแบบชีวิต
ในมุมมองของพุทธศาสนา
โดยเชื่อมโยงกับชีวิตสมัยใหม่
แม้กระนั้นก็เป็นเพียงมุมมองอย่างกว้างๆ
ซึ่งแต่ละคนจำเป็นต้องนำไปประยุกต์ใช้กับตนเอง
หากเห็นว่าเป็นแนวคิดที่ดี
ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าแบบที่ออกมานั้น
จะเหมาะกับชีวิตของเรา
ก็ต่อเมื่อเรารู้จักตัวเองอย่างแท้จริง
|
|
ขันธะวิมุติสะมังคีธรรม
ถวายบูรพอาจริยบูชา
๑๕๐ ปี แห่ง ชาตกาล ภูริทัตตมหาเถระ
และ ในโอกาสที่ องค์การยูเนสโก้
ยกย่องท่านเป็น
"บุคคลสำคัญของโลก สาขาสันติภาพ"
|
|
มหาสติปัฏฐานสุตตวรรณนา
พรรณนามหาสติปัฏฐานสูตร
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
แปลและเรียบเรียงโดย
พระครูศรีโชติญาณ
(พระมหาแสวง โชติปาโล ป.ธ.๖)
อดีตผู้อำนวยการอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
และราชบัณฑิตผู้ตรวจชำระพระไตรปิฎ
|
|
ชีวิตจาคะ
โดย อ. วศิน อินทสระ
การสละชีวิตเพื่อรักษาคุณธรรมเป็นสิ่งที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง
แต่บัณฑิตพยายามเพื่อจะทำให้ได้
ในหนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องของพระอานนท์พุทธอนุชา
ที่ยอมสละชีวิตของตนเพื่อปกป้องพระพุทธเจ้า
ทั้งในชาติปัจจุบันและชาติก่อน ที่เกิดเป็นหงส์ชื่อสุมุข
|
|
อนัตาแห่งธรรม
โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
|
|
อนัตตา_บังคับบัญชาไม่ได้
โดย ภิกษุรูปหนึ่ง
มาทำความเข้าใจให้แจ่งแจ้งทุกแง่มุม กับ อนัตตตา
และปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
|
|
พุทธวจนํ
ผลงานเขียน ของ ท่านพระญาณติโลกเถระ
รวมรวม ชำระ คำแปลโดย พระอาจารย์มหากีรติ ธีรปัญโญ
วัดจากแดง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
|
|
สติปัฏฐาน ๔
โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
|
|
ทสุตฺตรสูตร
รวบรวมโดย พระมหากีรติ ธีรปัญโญ
โดย ดำริของ ท่านพระครูธรรมธรสุมนต์ นันทิโก เจ้าอาวาสวัดจากแดง
อ. พระประแดง จ. สมุทรปราการ
|
ปุราเภทสุตตนิทเทส
ในยุคสังคมปัจฉิมวัย ยุคที่มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นกว่าวัยอื่น จึงเห็นควรศึกษา ปุราเภทสูตร เป็นการเตรียมพร้อมกันไว้
ชื่อพระสูตรมาจากศัพท์ ปุรา = ก่อน + เภทะ = แตก หมายถึงว่าควรจะทำอะไรให้ได้ก่อนที่กายจะแตกนั่นเอง
เมื่อพวกเราทุกคนเกิดขึ้นมา เวลาของแต่ละคนก็เริ่มนับถอยหลังกันแล้ว ไม่มีใครทราบได้ว่าชีวิตยังมีเวลาเหลืออยู่อีกเท่าไร ก่อนที่กายจะแตกทำลายลงนี้ เราควรจะทำอะไรบ้าง มาดู checklist ของพระพุทธเจ้ากันดูซิว่า เราได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง และยังเหลืออะไรอีกบ้างที่ต้องทำ ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งในประเภทพุทธิจริต ที่ชอบคิดค้นคว้าหาเหตุผล เนื้อหาในพระสูตรนี้ก็ อาจจะเหมาะกับท่าน
แนะนำโดย ท่านพระอาจารย์มหากีรติ ธีรปัญโญ
(ใช้อ่านประกอบบทความเรื่อง "ก่อนกายแตก" ในวารสารโพธิยาลัย ฉบับ ๓๒ )
|
|
|
พิจารณาอายตนะ 6
โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
ถ้าผู้ปฏิบัติได้พยายามระลึกศึกษา ทั้งชีวิตไม่มีอะไร นอกจากอายตนะ ประกอบกัน กระทบกัน แล้วก็เสื่อมสลายหมดไป ต่างคนต่างเกิด ต่างคนต่างดับ แต่ถ้าไม่มีสติรู้มันก็จะยึดเอาเป็นตัวเราของเรา เพราะฉะนั้นก็จะต้องพยายามปฏิบัติ เตือนสติเพื่อจะให้เกิดปัญญารู้แจ้ง
|
|
อันสติ สัมปชัญญะนี้
ก็สมมุติเป็นโชเฟอร์ผู้ กำพวงมาลัย
ได้แก่ เป็นผู้มีสติคอยระมัดระวัง
กาย วาจา จิต อยู่เสมอๆ
ธรรมโอวาท หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
หนึ่งในพระกรรมฐานศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต
|
|
ทำอย่างไรกับความโกรธ
อ. วศิน อินทสระ
บุคคลฆ่าความโฏรธเสียได้ย่อมอยู่เป็นสุข
ฆ่าความโกรธเสียได้ย่อมไม่เศร้าโศก
พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญการฆ่าความโกรธ
ซึ่งมีรากเป็นพิษมียอดหวาน
เพราะฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่ เศร้าโศก
พระพุทธพจน์
|
|
ว่าด้วยการแผ่เมตตาในสัตว์ทั้งปวง
พระมหากีรติ ธีรปัญโญ
|
|
|
|
อนุทินทรรศนะชีวิต
คมธรรม คำครู จากปลายปากกาของ ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ
จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน โดย ชมรมกัลยาณธรรม
|
|
ธรรมะมิได้อยู่ในคัมภีร์ หนังสือ หรือคำสอนเท่านั้น หากยังมีอยู่ในชีวิตของผู้คน ดังนั้น นอกจากการสื่อด้วยถ้อยคำและตัวอักษรแล้ว ธรรมะยังสามารถถ่ายทอดผ่านวิถีชีวิตและการกระทำของบุคคลได้ด้วย การสื่อด้วยวิธีการอย่างหลังนั้นทำให้ธรรมะกลายเป็นสิ่งมีชิวิตชีวาที่แลเห็นได้และสัมผัสได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตที่ดีงาม
|
|
|
เราไม่สามารถควบคุมบงการ ผู้คนและโลกรอบตัว ให้เป็นดั่งใจ
มิอาจคาดหวังหรือเรียกร้อง ให้มีแต่สิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับเรา
อย่าได้มีสิ่งเลวร้ายผ่านเข้ามาในชีวิตเลย
แต่อย่างน้อยมีสิ่งหนึ่งที่เราทนได้ นั่นคือ การวางใจให้เป็น ไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์ใด
|
|
วันพระ ที่พวกเราเคยมี กลับค่อยๆ หดหายไปจากปฏิทิน เรากล่าวถึงวันพระกันน้อยลง ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะวันนี้ มีความหมายกับเราน้อยลง
วิถีชีวิตของพวกเราเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่ไม่ได้มีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน
ที่เตือนให้เราระลึกถึงจุดหมาย ที่เป็นโลกุตตรอีกต่อไป
อีกส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ วัตถุกามมีการพัฒนาให้พิสดารหลากหลายออกไปมากมายตาม
ตัณหาและความปรารถนาของพวกเรา
|
|
ถ้าทุกคนให้เกียรติซึ่งกันและกัน เชื่อฟังความเห็นต่างของกันและกัน เคารพซึ่งกันและกัน ก็จะอยู่อย่างสงบสุข โดยเฉพาะโอวาทปาติโมกข์ ฝึกให้มีความอดทน อดกลั้น ต่อสิ่งที่มากระทบกระทั่ง
ไม่หวั่นไหว ไม่โกรธเกลียดซึ่งกันและกัน สังคมก็จะมีความสงบสุขขึ้นมาทันที จนถึงสงบสุขอันสูงสุดคือพระนิพพาน
|
|
ความเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องกรรมทำให้เรามีความอดทนในการทำความดี
มีความบากบั่นมั่นคงไม่ท้อถอย
ช่วยให้กล้าเผชิญชีวิตอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว
สามารถมองเห็นแง่ดีแม้ของความผิดหวังพลั้งพลาด แล้วตั้งต้นใหม่อย่างไม่ระย่อ
คำสอนเรื่องกรรมจึงเป็นเรื่องท้าทาย
ช่วยให้คนต่อสู้ดิ้นรนเพื่อพิสูจน์ด้วยตนเองว่าทำดีได้ดีนั้นเป็นอย่างไร
|
|
กรอบนอก แกนใน
โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
ในการปฏิบัติกรรมฐาน มีแนวทางวิธี
มีอารมณ์ที่จะให้เพ่ง ให้ระลึกรู้ หลายอย่างด้วยกัน
แต่ว่าโดยที่สุดแล้ว ก็ต้องเข้าไปรู้ถึงรูปนาม
จึงจะเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงได้
|
|
การปฏิบัติธรรมไม่มีสูตรสำเร็จที่จะใช้กับทุก ๆ คนเหมือนกันหมด
แต่ละคนต้องค้นหาเทคนิคหรือวิธี ที่จะนำตนไปสู่ความหลุดพ้นด้วยตนเอง
วิธีหนึ่งอาจเหมาะกับคนๆหนึ่ง แต่ไม่เหมาะกับอีกคนหนึ่ง
พระพุทธองค์ก็ต้องใช้สารพัดวิธี ในการโปรดผู้คนเพื่อให้เข้าถึงธรรม
เหมือนเช่นการทดลองทางวิทยาศาสตร์
ที่จะต้องทดลองหลายๆ ครั้งโดยใส่ตัวแปรที่แตกต่างกัน แล้วดูผลที่ควรจะเป็น จากนั้นจึงสรุปออกมาเป็นทฤษฎี
|
|
พระพุทธเจ้าตรัสไว้
มูลเหตุแห่งการไม่บรรลุธรรม
เพราะไม่ได้คบสัตบุรุษ (หรือพระอริยะ)
ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ
|
|
อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการ
๑. ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจของชนหมู่มาก
๒. สัปปบุรุษผู้สงบ ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
๓. กิตติศัพย์อันงามของผู้ให้ทาน ย่อมขจรทั่วไป
๔. ผู้ให้ทาน ย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์
๕. ผู้ให้ทาน เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
สีหสูตร
|
|
ห้องเรียนของเรา ก็คือกายใจของเรานี้แหละ
เราเอากายใจของเรานี้เรียนรู้ โดยมีสติ มีสมาธิ
จนมีปัญญาเกิดขึ้น ดับทุกข์ ก็ดับอยู่ที่นี่
|
|
ปราศจากโคลนตม ดอกบัวอันงดงาม
ย่อมมิอาจเกิดขึ้นได้ฉันใด ปราศจากความทุกข์
ปัญญาหรือความรู้แจ้ง ก็มิอาจเกิดขึ้นได้ฉันนั้น
|
ความหลัง
โดย อาจารย์วศิน อินทสระ
วรรณกรรมธรรม : ความหลัง
เรื่องราวในอดีตสมัยพุทธกาลและก่อนพุทธกาล
ดูก่อนภราดา บัณฑิตแต่โบราณ ย่อมสลดใจในเรื่องที่ควรสลดอย่างนี้ ท่านเป็นผู้มีใจใฝ่ธรรมอยู่เสมอ เห็นสิ่งใดได้ฟังสิ่งใดก็น้อมใจเข้าไปหาธรรม หรือน้อมธรรมเข้ามาในตน จึงเป็นอันเดียวกับธรรมและไม่เสื่อมจากธรรม
|
|
ศักยภาพที่นักศึกษาและเยาวชนควรพัฒนา มี ๒ อย่างคือ พัฒนาจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ เป็นบันไดขั้นแรกก้าวไปสู่การพัฒนาไอคิว และพัฒนาศักยภาพทางคุณธรรม เมื่อพัฒนาสองกรณีนี้ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีพลังอำนาจสูง ทั้งความรู้และคุณธรรม
|
|
พลังสติ พลังสมาธิ และพลังปัญญาเห็นแจ้ง (สัมปชัญญะ) เป็นสิ่งที่ควรแก่การพัฒนาให้เกิดมีขึ้น และรักษาไว้ให้คงอยู่ เพราะพลังสมาธิเมื่อนำมาใช้ในหนทางที่ชอบธรรม รวมถึงใช้พลังสติสัมปชัญญะมาส่องนำทางให้แก่ชีวิตแล้ว จะเป็นเหตุนำมาซึ่งสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และรวมถึงสุขภาพดีทางจิตวิญญาณ
|
|
เชื่อกรรม-รู้กรรม-แก้กรรม
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
จุดที่พระพุทธเจ้าต้องการที่สุดคือเรื่องปัจจุบัน เพราะว่าอดีตเราไปทำแก้คืนไม่ได้ แต่ปัจจุบันเป็นสิ่งที่เราทำได้ เรามีอิสรภาพมากทีเดียวในปัจจุบันที่จะกระทำการต่างๆ
เพราะฉะนั้น เราต้องสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง ต่อกรรมแต่ละอย่างว่า กรรมเก่า เราควรวางความรู้สึกอย่างไร เอามาใช้ประโยชน์อย่างไร กรรมใหม่ เราควรทำอย่างไร นี่ขีดวงแยกกันให้ถูกต้อง แล้วจึงจะได้ผลดี
|
|
ขยายใจให้ใหญ่ขึ้น
โดย
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
เราไม่อาจควบคุมหรือบงการให้มีแต่สิ่งดี ๆ เกิดขึ้นกับเรา
แม้ระมัดระวังหรือทำดีที่สุดแล้ว
ก็ยังมีเหตุร้ายหรือสิ่งไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นกับเราอยู่นั่นเอง
แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราทำได้ก็คือ ดูแลรักษาใจให้เข้มแข็งมั่นคง
รวมทั้งขยายใจของเราให้ใหญ่ขึ้น ประหนึ่งแม่น้ำที่สามารถละลายน้ำพริก
หรือพิษทั้งหลายให้เจือจางลง
|
|
แนวทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา เล่ม ๒
โดย อาจารย์วศิน อินทสระ
อุปนิสัยของคนเริ่มต้นด้วยความคิด ตามมาด้วยการกระทำ กระทำบ่อยๆ เป็นนิสัย นิสัยที่หยั่งรากลึกแล้วเป็นอุปนิสัย อุปนิสัยสร้างอนาคตหรือชะตาชีวิต
จะเห็นได้ว่าเราสร้างชะตาชีวิตกันด้วยความคิดเป็นจุดเริ่มต้น
เพราะฉะนั้นการพัฒนามนุษย์จึงเริ่มต้นด้วยการให้เขาคิดเป็น และเราจะต้องสอนให้เขามีวิธีคิดที่ถูกต้องด้วย ซึ่งทางธรรมเรียกว่าโยนิโสมนสิการ แปลว่า คิดเป็น คิดเป็นระบบ เราก็จะได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ สังคมก็จะสงบสุขเจริญรุ่งเรือง
อาจารย์วศิน อินทสระ
|
เรื่องของแม่ชีป่าน
เล่าโดย : เงาศิลป์ คงแก้ว
แม้อายุยังน้อยแต่เธอสามารถเข้าใจธรรมะที่ลึกซึ้งได้
นอกจากการสวดมนต์แล้ว หนังสือธรรมะยังเป็นที่พึ่งทางใจของเธอ
ที่สำคัญกว่านั้นคือการภาวนา
ด้วยการพิจารณากายและใจอย่างต่อเนื่อง
เรียนรู้จากทุกขเวทนาที่ปรากฏกับกาย
เพื่อเห็นความจริงว่า สิ่งเหล่านี้
มิอาจยึดมั่นถือมั่นเป็นเราและของเราได้เลย
ความจริงดังกล่าวนี้แหละ
ที่จะนำไปสู่การปล่อยวาง จนทุกข์มิอาจย่ำยีบีฑาจิตใจได้
|
|
หลักแม่บทของการพัฒนาตน
โดย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ยิ่งตัวตนใหญ่ ก็ยิ่งมีโอกาสมีขอบเขตมีแดน ที่จะรบกระทบมาก ก็เลยทุกข์มาก จะทําอะไรจะ แก้ไขอะไรก็ทำด้วยกิเลส เห็นแก่ตน ทําไปตามแรง ความรู้สึกที่ถูกบีบ ไม่ทําให้ตรงตามเหตุปัจจัย ก็เลยยิ่งเกิดปัญหามาก
ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาตน เพื่อจะรู้เท่าทัน เข้าใจอนัตตา มองเห็นความไม่มีตัวตน จะได้หมดความยึดมั่นในตัวตน แล้วก็จะหมดความทุกข์ พ้นจากกิเลส มีจิตใจเป็นอิสระ
เป็นอันว่า เร่ื่องการพัฒนาตนก็น่าจะจบเพียงนี้
|
|
พาจิตกลับบ้าน
โดย พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท
สมัยเมื่อ พระพุทธเจ้า ท่านยังทรงพระชนม์อยู่ พระองค์ทรงเน้นสอน และแสดงโทษของการยึดมั่นอยู่ในอุปาทาน ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์พระองค์ทรงแสดงธรรม เพื่อการ ตรัสรู้เพื่อเข้าสู่มรรคผลนิพพาน
คือพระองค์จะทรงหยิบยกและแสดงธรรมในเรื่อง อริยสัจ ๔ เป็นส่วนมาก และในการแสดงธรรม อริยสัจ ๔ แต่ละครั้งนั้นจะมีทั้งอุบาสก อุบาสิกา พระภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุณีได้ ดวงตาเห็นธรรม เป็นจำนวนมาก
|
|
ไม่สำคัญหมาย ตามสมมุติ
โดย พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ
มนุษย์ที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ ย่อมประสบกับความทุกข์ทุกคน
ไม่มากก็น้อย ไม่มีใครไม่เคยประสบ ทีนี้เมื่อประสบแล้ว
ทำอย่างไรจะออกจากทุกข์ได้ และจะไม่ทุกข์อีก อันนี้หมายถึงทุกข์ใจ
การจะออกจากทุกข์ใจได้ ก็ต้องมาปฏิบัติธรรม
คือ มาศึกษาในกายใจตนเอง เพื่อหาความจริงให้เจอ
เมื่อเจอความจริง ความหลงความสำคัญผิดก็จะไม่มี
ความไม่ทุกข์ก็จะเป็นผลตามมา
|
|
วิมุติปฏิปทา
แนวทางปฏิบัติธรรม
โดย พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
อริยสัจแห่งจิต
จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ
|
|
สนทนาภาษาธรรม เล่ม ๒๗
โดย ท่านอาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร
สนทนาภาษาธรรม เล่มที่ ๒๗ นี้ ได้สำเร็จเป็นหนังสือได้
ด้วยความร่วมมือของกัลยาณมิตรทุกท่านที่ร่วมใจกันจัดทำ
รวมทั้งเว็บมาสเตอร์ของชมรมกัลยาณธรรมผู้มั่นคงศรัทธา
เหนืออื่นใดคือความเมตตาจากท่านอาจารย์
ที่พวกเราไม่ปล่อยให้สูญเปล่า
ขอขอบคุณทุกท่านผู้ถามปัญหาเข้ามา
ซึ่งเป็นการเอื้อเฟื้อแก่ผู้อื่นที่ไม่ได้ถามด้วยตัวเอง
อ่าน สนทนาภาษาธรรม เล่ม ๑ - ๒๗
|
|
ทางชีวิต
โดย ท่านอาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร
ฑีฆา ชาครโต รตฺติ
ฑีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ
ฑีโฆ พาลาน สํสาโร
สทฺธมฺมํ อวิชานตํ
ราตรีหนึ่ง ยาวนานสำหรับคนผู้ตื่นอยู่
ระยะทางโยชน์หนึ่งยาวไกลสำหรับผู้เมี่อยล้า
สังสารวัฏยาวนานสำหรับคนพาลผู้ไม่รู้แจ้งสัทธรรม
พระพุทธพจน์
|
ธรรมไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา
โดย พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ
ธรรมะเป็นสัจธรรมจึงเป็นสากล
ที่ทุกคนสามารถปฏิบัติเข้าถึงได้
ไม่แบ่งแยกหญิงชาย เด็กผู้ใหญ่ ฆราวาสนักบวช
เชื้อชาติต่างๆ ขึ้นกับผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา
|
|
เรื่องเล่าและนิทานโดนใจ
จาก Facebook วัดป่าสุคะโต
เรื่องเล่าและนิทานชาดกต่างๆ
ก็จัดอยู่ในการนำเสนอในรูปแบบวรรณคดี
ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะให้ผู้ที่ยังใหม่
และมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจทางธรรมไม่มาก
สามารถอ่านำความเข้าใจ
และนำข้อคิดแนวธรรมอันเป็นประโยชน์
ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตตามธรรมได้
|
|
มงคล ๓๘ ประการ
โดย สิริคุตฺโต ภิกฺขุ
เนื้อหาแห่งมงคล ๓๘ ประการเล่มนี้ เป็นหลักธรรมสำคัญ อันสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำ
ให้เราชาวพุทธถือปฏิบัติเป็นมงคลเป็นแนวทางดำเนินชีวิต และท่านอาจารย์ได้อธิบายไว้เข้าใจง่าย มีตัวอย่างมากมายและมีความเห็นที่คมคาย ชวนอ่าน
ุ
|
|
วิปัสสนาญาณ
โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ
เราเจริญสติระลึกรู้รูป-นามให้เป็นปรกติ ให้เท่าทัน ให้ได้ปัจจุบันเรื่อยๆ ไป วางใจเป็นกลาง ไม่ตกไปในข้างยินดียินร้าย มันก็จะเกิดญาณ เกิดปัญญาขึ้นเอง
พระภาวนาเขมคุณ วิ
(พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
|
|
พ่อผมเป็นมหา
โดย อ.วศิน อินทสระ
พ่อผมเป็นมหา
คตินิยายเรื่องนี้ เน้นหนักไปในทางให้เห็นความสำคัญของธรรม
เพื่อความสุขของปัจเจกชน ครอบครัว และสังคม ตามพระพุทธพจน์ที่ว่า " ดูก่อนวาเสฏฐะและภารัทวาชะ ธรรมนั้นแลประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในปัจจุบันและภายหน้า "
( อัคคัญญสูตร )
|
|
สร้างภูมิคุ้มใจ
โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
การสัมผัสกับเชื้อโรค
ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายฉันใด
การสัมผัสกับความทุกข์
ก็ทำให้เรามีภูมิคุ้มกันจิตใจ
หรือภูมิต้านทานความทุกข์ฉันนั้น
พระไพศาล วิสาโล
|
|
ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิต
โดย
อาจารย์วศิน อินทสระ
ปัญญาทางโลก วิชาการทางโลก
ยิ่งมีเกียรติ ยศ ตำแหน่ง ดีกรีสูง
บางทีกลับยิ่งทำให้เรายึดมั่นในตัวตน
ทั้งอัตตา มานะ ทิฐิ ยิ่งสูงตาม
ทำให้ยิ่งไม่เข้าใจโลก ไม่เข้าใจชีวิต
ห่างไกลชีวิตแท้ๆ และความสุขสงบในจิตใจออกไปทุกที
ตราบใดที่เราไม่ได้เรียน วิชาชีวิต
ด้วยการน้อมนำธรรมมาประพฤติปฏิบัติ
เป็นหลักทางการดำเนิน
ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิต หรือ วิชาชีวิต เท่านั้น
ที่จะช่วยให้เข้าใจโลกและชีวิตได้อย่างสงบเย็น
เป็นประโยชน์ มีทัศนะที่ถูกต้อง มีจิตใจงดงาม
สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในโลกอย่างมีความสุขได้
|
|
การทำบุญให้ทาน
โดย
อาจารย์วศิน อินทสระ
บุญวาสนาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคนบุญวาสนา
แปลว่า ใช้ชีวิตกับบุญมาเป็นเวลานาน
ตรงกันข้ามกับบาปวาสนา
ซึ่งหมายถึงชีวิตของผู้ที่อยู่กับบาปมาเป็นเวลานาน
ทำให้มีปัญหามากมีอุปสรรคมาก
ทำอะไรประสบความสำเร็จได้ยาก
ส่วนผู้มีบุญวาสนาอำนวยผลให้
ทำสิ่งใดก็ประสบความสำเร็จโดยง่าย
มีผู้ช่วยเหลือในกิจต่างๆ
ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
" การสั่งสมบุญจึงเป็นเหตุให้เกิดสุข
ส่วนการสั่งสมบาปเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ "
( พระพุทธพจน์ )
|
|
วิปัสสนาในชีวิตประจำวัน
โดย พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี
ในวันหนึ่ง ๆ ที่เรามีชีวิตอยู่
ถ้าเราขาดสติที่จะรู้เท่าทัน เรียกว่าเราประมาท
ประมาทเพราะว่าปล่อยให้กิเลสท่วมทับจิตใจตัวเอง
ผู้ประมาทจึงชื่อว่าผู้ที่ตายแล้ว
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
เพราะว่าคนตายเจริญสติไม่ได้
ไม่มีโอกาสเจริญกุศล เจริญสติ รู้เท่าทัน
คนมีชีวิตอยู่ ถ้าประมาท ก็เท่ากับคนตายเหมือนกัน
พระภาวนาเขมคุณ วิ. (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
|
|
วิชาหนีนรก
โดย ดร.สนอง วรอุไร
จงมีธรรมะคุ้มรักษาใจตลอดไป
ทั้งในภพนี้ ในภพหน้าหรือในภพถัดๆ ไป
จงพัฒนาจิตให้พ้นไปจากอบายภูมิ
อันมีภพนรกเป็นเบื้องสุด
ด้วยการสวดมนต์สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
ก่อนนอนทุกคืน จงพัฒนาจิตให้มีสติคุ้มรักษาใจ
ให้อยู่รอดปลอดภัยจากภพที่ไม่พึงปรารถนา
ดร.สนอง วรอุไร
|
|
เทคนิคการเผยแผ่พระศาสนา
โดย อาจารย์วศิน อินทสระ
เรื่อง " เทคนิคการเผยแผ่พระศาสนา " นี้ข้าพเจ้าเขียนไว้นานแล้ว พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๓๗ รวมอยู่ในหนังสือเรื่อง "ชาวพุทธกับวิกฤติศรัทธา "
แต่ในคราวนี้ได้แยกออกมาพิมพ์ต่างหาก เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจในเทคนิคการเผยแผ่ศาสนา ข้าพเจ้าหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์สมความมุ่งหมาย พระพุทธเจ้าตรัสฝากไว้ว่า
" ขอให้ชาวพุทธช่วยกันกล่าวธรรม ส่องแสงธรรม เพราะว่าธรรมนั่นแหละเป็นธง ของผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลาย "
( ภาสเย โชตเย ธมฺมํ ... ธมฺโม หิ อิสินํ ธโช )
วศิน อินทสระ
|
|
ธรรมกลางป่า สุขกลางใจ
โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
เมื่อพาตัวมาอยู่ท่ามกลางป่าเขา
เราย่อมมิอาจพึ่งพาความสุขและความสะดวกสบาย
ซึ่งมีอยู่อย่างครบครันจากชีวิตในเมืองได้อีกต่อไป
นั่นคือโอกาสที่เราจะได้เรียนรู้
และเข้าถึงความสุขจากชีวิตที่เรียบง่าย
รวมทั้งความสุขจากใจของเรา
ต่อเมื่อตระหนักและสัมผัสได้ถึงความสุขกลางใจ
เราจึงจะมีอิสรภาพอย่างแท้จริง
|
|
ชาวพุทธกับวิกฤติศรัทธา
โดย อาจารย์วศิน อินทสระ
ชาวพุทธเราแม้จะมีวิกฤติศรัทธาอยู่บ้างเป็นระยะๆ
แต่ถ้าได้ปัญญาเพิ่มขึ้นก็เป็นสิ่งที่น่าพอใจ เหมือนเสีย ๑ ได้ ๑๐
เพราะปัญญาเป็นคุณธรรมอันสูงสุดนำไปสู่ความหลุดพ้น (วิมุตติ)
พุทธศาสนาเองก็เป็นศาสนาแห่งปัญญา ไม่ใช่ศาสนาแห่งศรัทธา
พระพุทธศาสนาไม่ต้องการให้บุคคลเชื่อสิ่งใดโดยปราศจากปัญญา
ไม่ต้องมอบกายถวายชีวิตต่อสิ่งใด ต่อบุคคลใด
ที่ยังไม่ได้ตรองให้เห็นด้วยปัญญาเสียก่อน
อาจารย์วศิน อินทสระ
|
|
สร้างฐานสู่ยอด
โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ
ผู้เขียนเห็นว่าความเข้าใจในเรื่องอนุปุพพิกกถา
มีความสำคัญต่อผู้ที่สนใจปฏิบัติธรรมในยุคปัจจุบัน
เพราะส่วนใหญ่มุ่งไปเจริญภาวนากัน อันเป็นธรรมขั้นสูง
โดยข้ามธรรมขั้นพื้นฐานที่ควรจะปฏิบัติ
ในชีวิตประจำวัน คือ ทานและศีล
เมื่อไม่มีธรรมขั้นพื้นฐานแล้วจะขึ้นสูงได้อย่างไร
โดยเฉพาะหากไม่มีศีล ๕ ก็ไม่สามารถบรรลุถึง
อริยธรรม ขั้นพระโสดาบันเป็นต้นไปได้
พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ
|
|
ทางดำเนินแห่งมุนี
โดย อาจารย์วศิน อินทสระ
มุนี คือ ผู้รู้ ผู้มีใจสงบ มีบ่อยๆ ที่เราได้เห็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติเช่นนี้
เป็นทั้งมุนี นักปราชญ์ และบัณฑิต อยู่ในคนคนเดียวกัน
คือเป็นผู้รอบรู้ซึ่งเป็นลักษณะของปราชญ์
และเป็นคนดีซึ่งเป็นลักษณะของบัณฑิต
แม้จะหาได้ยากแต่ก็หาได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเป็นผู้หมั่นศึกษาสดับตรับฟัง และฝึกตน
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
" ผู้ที่ฝึกตนให้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่มนุษย์"
อาจารย์วศิน อินทสระ
|
|
เปิดใจวาจาสุดท้าย
โดย
หลวงพ่อสมบูรณ์ ฉตฺตสุวณฺโณ
อย่าปล่อยไปตามบุญตามกรรม
อย่าปล่อยไปตามเรื่องตามราว
ต้องรู้จักสลัดสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ ออกไป
เบลอๆ สลึมสลอ ยืดยาด อืดอาด
สังเกตดูสิ นี่มันทุกข์ชัดๆ
ต้องให้มันตื่นตัว แจ่มแจ้ง ชัดเจน
ต้องรู้จักลิขิตชีวิตตัวเอง อยู่เหนือดวง
ต้องมีสตินี่แหละ
เห็นความรู้สึก มันก็สักว่าความรู้สึก
หลวงพ่อไม่เหมือนใครหรอก อายุ ๘๔ แล้ว
เห็นคนหนุ่มทำงาน สู้หลวงพ่อไม่ได้
ร่างกายมันแก่ แต่เราเห็นความแก่
ไม่ปล่อยไปตามความแก่
นี่แหละ...จิตใจมันแข็งแรง
|
ผู้สละโลก
โดย อาจารย์วศิน อินทสระ
หนังสือเรื่องนี้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๒๐
ขณะนั้นข้าพเจ้าอายุ ๔๒ ปี
บัดนี้ข้าพเจ้าอายุุ ๘๐ ปีเศษแล้ว
ยิ่งอยู่ในโลกไปนานวัน
ข้าพเจ้ายิ่งมองเห็นโทษของโลก
ทั้งโลกคือสังคมมนุษย์
และโลกคือรูปขันธ์กล่าวคือร่างกายนี้มากขึ้น
ตามวันเวลาที่ล่วงไป
ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าใด
โลกคือร่างกายนี้ก็แสดงให้เห็นโทษมากขึ้นเท่านั้น
สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
" กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก
( พหุทุกฺโข โข อยํ กาโย พหุอาทีนโว) "
ในที่สุดเราทุกคนก็ต้องสละโลก คือร่างกายนี้ไป
อย่างที่พระรัฐบาลกล่าวว่า. ..
สัตว์โลกไม่มีสิ่งเป็นของของตน
จำตัองละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป
( อสฺสโก โลโก สพฺพํ ปหาย คมนียํ) "
พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า
" เราบัญญัติโลก เหตุเกิดของโลก ความดับโลก
และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับโลก
ในร่างกายอันมีประมาณวาหนึ่งนี้ ซึ่งมีสัญญาและมีใจครอง "
( โรหิตัสสสูตร)
ทรงแสดงอริยสัจ ๔
โดยยกเอาคำว่า " โลก " แทนคำว่า " ทุกข์ "
เพราะตรัสกับเทพบุตรผู้มีฤทธิ์เหาะสำรวจโลก
ขอท่านผู้อ่านพึงพิจารณาโลกตามความเป็นจริง
ก็จะได้มองเห็นคุณและโทษของโลก
เข้าไปเกี่ยวข้องกับโลกอย่างระมัดระวัง
เมื่อเห็นโทษแล้วจะได้มีปัญญาในการสลัดออก
อยู่ในโลกอย่างมีปัญญาเข้าใจโลก
ในที่สุดก็จะได้หลุดพ้นจากโลกไป
ไม่ต้องหวนกลับมาสู่โลกนี้อีก
อาจารย์วศิน อินทสระ
|
|
แนวทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา เล่ม ๑
โดย
อาจารย์วศิน อินทสระ
พระพุทธศาสนามีลักษณะเป็นระบบจิตวิทยามาแต่เดิม
แต่เป็นระบบที่ศึกษาสภาพของจิตใจ
โดยเน้นหนักในการปฏิบัติทดลองด้วยตนเอง
ที่สำคัญที่สุดก็คือ วิธีการของพระพุทธศาสนานั้น
เป็นหลักปฏิบัติที่มีระเบียบแบบแผน มีศิลปะ
เป็นวิถีแห่งการครองชีวิตซึ่งมุ่งหวังให้ผู้ปฏิบัติมีความผาสุก
และ มีอารมณ์นิสัยคุ้มครองตนเองได้
ในแง่นี้ ไม่มีสถาบันใดทำได้สำเร็จเท่าพระพุทธศาสนาเลย
ความสามารถของพระพุทธศาสนาเช่นนี้เป็นสิ่งที่พึงประสงค์อย่างยิ่ง
และเป็นสิ่งที่จะอำนวยประโยชน์สุขแก่โลกอย่างมหาศาลทีเดียว
|
|
ไตรสรณคมน์
โดย พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม
ในทางปฏิบัติแล้วนับว่าครูอาจารย์ย่อมเป็นตัวจักรสำคัญที่สุดในการอบรม ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนั้น พระธุดงคกรรมฐานท่านจึงต้องเสาะแสวงหาครูอาจารย์ที่ดี มีประสบการณ์มากไว้เป็นที่พึ่งคอยให้คำแนะนำเพิ่มเติม หรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับบำเพ็ญเพียรทางจิต
แต่ธรรมใดๆ ก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ เราต้องลงมือพิสูจน์ด้วยรูปนามของเรานี้
ความประจักษ์แจ้งในธรรมจึงจะสัมฤทธิผลได้ แม้แต่พระตถาคต ก็เป็นเพียงผู้ชี้ทางเท่านั้น
|
|
มรณสติ
โดย
ดร.สนอง วรอุไร
การระลึกถึงความตายที่จะต้องมีมาถึงตนให้เป็นธรรมดา
เป็นสิ่งที่ผู้ไม่ประมาท พึงกระทำให้เกิดขึ้นกับจิตของตัวเอง
ผู้มีสติกำกับจิตอยู่ทุกขณะตื่น จะคิด จะพูด จะทำสิ่งใดๆ ย่อมมีกุศลธรรม (บุญ) เกิดตามมา
ยิ่งในยุคสมัยที่สังคมโลก กำลังย่างเข้าสู่ภาวะวิกฤต
จึงควรอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาจิตให้มีสติอยู่ทุกขณะตื่น
แล้วปัญญาเห็นถูกตามความเป็นจริงแท้ย่อมเกิดขึ้น
ผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ในดวงจิตทุกขณะตื่น
จึงจะสามารถนำพาชีวิตก้าวข้ามความวิกฤตนี้ไปได้
|
|
เวลาเหลือน้อย
โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
น้อยคนตระหนักว่าขณะที่ตนมีเงินทองเพิ่มขึ้นนั้น
เวลาของตนในโลกนี้กลับเหลือน้อยลงทุกที
และเมื่อถึงวันที่ตนหมดอายุขัย ไปสู่ปรโลก
มีทรัพย์สมบัติมากมายเพียงใดก็เอาไปด้วยไม่ได้
ร้ายกว่านั้นก็คือการพบว่ามีหลายสิ่งหลายอย่าง
ที่ตนควรทำแต่กลับไม่ได้ทำ
ใครที่ตระหนักเช่นนี้ ย่อมไม่ปล่อยให้เวลาของตนหมดไป
กับการสะสมเงินทองหรือเพลิดเพลินในความสนุกสนาน แต่จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีความหมายต่อจิตใจ
อันนำมาซึ่งความสงบเย็นและความสุขใจ
รวมทั้งการเข้าถึงประโยชน์สูงสุดแห่งความเป็นมนุษย์
นั่นคือ การเป็นอิสระจากความทุกข์ และที่จะมองข้ามมิได้ก็คือ
การเตรียมตัวเตรียมใจพร้อมรับมือกับความตาย
อันเป็นความจริงที่ไม่มีใครหนีพ้น
คนที่หมั่นเตือนตนว่าเวลาเหลือน้อย
ย่อมสามารถเผชิญความตายได้ด้วยใจสงบ
|
|
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
โดย พอจ. สุรศักดิ์ เขมรํสี
การเจริญวิปัสสนาเป็นเรื่องของการฝึกจิตใจ
ให้มีความเป็นปกติ ให้จิตมีสติ...รู้ตื่นอยู่ภายใน
ปล่อยวางอยู่ในตัว รู้...ดู...เท่าทันอยู่
แต่ว่าไม่บังคับ ไม่กดข่ม มีความเป็นปกติ เป็นธรรมดา
นั่นแหละคือภาวนา เป็นความเจริญของสติ
|
|
อุปาทานกับความหลุดพ้น
โดย พอจ. สุรศักดิ์ เขมรํสี
เครื่องผูกแห่งมารคือวัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด
ถ้าเรายังเกิดอยู่ เราก็ตกอยู่ในเงื้อมมือของมาร มารได้ช่อง
มารได้โอกาส เราจะพ้นจากวัฏฏสงสาร พ้นจากเงื้อมมือของมาร
ก็ต้องรู้เท่าทันจิต สำรวมระวังรักษาจิตไว้ได้
ความสุขความทุกข์มันออกมาจากจิตใจนี่เอง
ฉะนั้น ต้องหัดพิจารณา หัดตามดู รู้จิตใจตนเองไว้
จิตคิดก็ให้รู้ จิตนึกก็ให้รู้ จิตรู้สึกอย่างไรให้รู้ทัน
|
|
ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม
โดย
อ. วศิน อินทสระ
เราควรทำความเข้าใจความหมายของคำว่า
การปฏิบัติธรรม
ให้ถูกต้องถ่องแท้ เพื่อจะได้ไม่หลงผิด ยกตนข่มผู้อื่นผู้ปฏิบัติธรรมอยู่
และเพื่อไม่หลงผิดตำหนิตนเอง
โดยไม่จำเป็นว่าไม่ได้ปฏิบัติธรรมอะไรเลย
ขอให้ผู้ปฏิบัติธรรมมั่นใจว่า เมื่อตนได้ประพฤติธรรมสมควรแก่ฐานะ
ภาวะแห่งตนแล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองจากธรรมให้อยู่เย็นเป็นสุข
สมพระพุทธภาษิตที่ว่า
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้
|
|
สงบจิต สว่างใจ
โดย พระไพศาล วิสาโล
ผู้ที่ปรารถนาความสุขที่แท้
ควรฝึกฝนตนให้เกิดความสงบและสว่างในจิตใจ
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ จิตที่เปี่ยมด้วยเมตตา
พร้อมจะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
ความสุขชนิดนี้จึงก่อเกิดทั้งประโยชน์ตน
และประโยชน์ท่าน
|
|
หลวงปู่ฝากไว้
โดย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
อย่าปล่อยให้จิตปรุงแต่งมากนัก
ข้อสำคัญให้รู้จัก..จิต..ของเราเท่านั้นเอง
เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม
นอกจากจิตแล้วไม่มีตัวหลักธรรมใดๆ เลย
...ภาวนามากๆ แล้วจะรู้ถึงความเป็นจริงเท่านั้นเอง
..ไม่มีอะไรมากมาย..มีเท่านั้น
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
|
|
เพื่อเสรีภาพทางจิต
โดย อ.วศิน อินทสระ
เสรีภาพทางจิต
เป็นจุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า น้ำในมหาสมุทรมีรสเดียวคือรสเค็มฉันใด
พระธรรมวินัยนี้มีรสเดียวคือวิมุตติรสฉันนั้น
หมายความว่า การปฏิบัติต่างๆ มุ่งไปสู่ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย
ได้รับเสรีภาพทางจิตอันยั่งยืน เป็นความสดชื่นแห่งชีวิตถึงที่สุด
ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏทุกข์อีกต่อไป
|
|
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
พระไพศาล วิสาโล
คนเจ็บนั้นไม่ได้ต้องการเพียงแค่การเยียวยาทางกายเท่านั้น
การเยียวยาทางจิตใจก็มีความสำคัญด้วยเช่นกัน
ยิ่งคนที่เจ็บหนัก อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต
การเยียวยาทางกายกลับมีความสำคัญน้อยกว่า
การเยียวยาทางจิตใจด้วยซ้ำ ดังจะเห็นได้ว่า
เมื่อผู้ป่วยมีใจสงบ ยอมรับความตายได้ ก็หายทุรนทุราย
แม้อาการทางกายจะทรุดหนักลงเป็นลำดับ
จนยากแก่การเยียวยารักษาได้แล้วก็ตาม
หนังสือเล่มเล็ก ๆ นี้
เป็นความพยายามเบื้องต้นในการนำเสนอ
วิธีการช่วยเหลือทางจิตใจแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
โดยอาศัยหลักการทางพุทธศาสนา
ทั้งนี้โดยมีประสบการณ์ของผู้รู้มาเป็นตัวอย่างประกอบ
|
|
ข้อคิดธรรมนำปฏิบัติเล่ม ๑
โดย พระอาจารย์มหาบุญทัน รตนปญฺโญ
พระอาจารย์มหาบุญทัน รตนปญฺโญ
พระวิปัสสนาจารย์แห่งศูนย์ปฏิบัติธรรมโพธิปักขิยธรรมสถาน
มีเมตตาเปิดช่องทางเผยแผ่ธรรมผ่าน Facebook
ในหน้ากระดานชื่อ พ.บุญทัน รตนปญฺโญ
ด้วยประสบการณ์การปฏิบัติมายาวนาน
รวมทั้งอบรมสั่งสอนผู้ใฝ่ในการปฏิบัติธรรมกรรมฐานมาอย่างต่อเนื่อง
ท่านจึงมีเกร็ดธรรมคำคมอันเป็นแนวทางใจและกุญแจภาวนา
ชวนศึกษาและน้อมนำมาเป็นแนวปฏิบัติจิตใจอย่างยิ่ง
|
|
รู้ใจไกลทุกข์
โดย พอจ.ไพศาล วิสาโล
ยากนักที่เราจะได้พบคนรู้ใจ
หากตัวเราเองก็ยังไม่รู้ใจของเราเอง
เพราะการไม่รู้ใจของตัวเอง
ก็คือการไม่รู้จักกิเลสของตัวเอง
จึงเกิดความไม่เข้าใจ ความขัดแย้ง
หรือการคาดหวังผิดๆ จากผู้อื่น หรือสิ่งอื่น
อันนำมาซึ่งความทุกข์ และปัญหาต่างๆ มากมาย
เพราะต่างคนต่างก็ไม่รู้ใจตัวเอง
ไม่รู้จักกิเลสของตัวเอง เมื่อคนที่ต่างเป็นเช่นนั้น
มาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ก็ยิ่งเพิ่มปัญหาเป็นสองเท่า
ดังนั้น แต่ละคนจึงควรหันมาดูใจ
รู้จักใจของตัวเองให้มาก
ก็จะสามารถรู้ใจคนอื่น เข้าใจคนอื่นได้ไม่ยาก
|
|
เห็นถูก รู้แจ้ง ๕
โดย อ. ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
เคยคิดแทน ว่าท่านอาจารย์ไม่เหน็ดเหนื่อยบ้างหรือไร
ไม่ต้องรอคำตอบจากปากท่าน
เพราะเมื่ออ่านบทความคมๆ
เรื่อง ประตูใหญ่บางขวาง(ยัง)เปิดอยู่
ก็พบคำตอบชัดเจน ตรงท้ายที่ว่า ....
มาจนถึงวันนี้ สาวกทั้งหลาย
ได้พบความจริงจากบทเรียนที่ได้พบเจอมา
จึงไม่ทุกข์กับใครๆ อีกต่อไป
ทำได้แค่ดีที่สุดอย่างเต็มความสามารถในชีวิตที่ยังเหลืออยู่
เพราะยอมรับความจริงแท้แน่นอนแล้วว่า
.. สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
อ่านต่อกระตุกสติ ให้จุใจ ในเล่มจริง
อ่านเห็นถูก รู้แจ้ง ๑
อ่านเห็นถูก รู้แจ้ง ๒
อ่านเห็นถูก รู้แจ้ง ๓
อ่านเห็นถูก รู้แจ้ง ๔
|
|
อาภรณ์ประดับใจ
โดย อ. วศิน อินทสระ
นี่ก็เป็นอีกเล่มหนึ่งที่ทุกท่านไม่ควรพลาด
และน่าอัศจรรย์ใจที่ท่านอาจารย์สามารถสื่อธรรม
ออกมาในรูปแบบของจดหมายจากพ่อถึงลูก
และจากแม่ถึงลูก ในแง่มุมคุณธรรมต่างๆ
ซึ่งเป็นธรรมชาติและทันสมัยในสังคมไทยเสมอ
โดยเฉพาะการเขียนจดหมายในฐาะแม่ถึงลูกนั้น
เป็นเรื่องน่าชื่นชมมากที่ท่านเข้าใจ
เหมือนนั่งอยู่ในหัวใจของคนที่เป็นแม่
ยอมรับว่าท่านอาจารย์มีความละเมียดละไม
จิตใจละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง จึงมองเห็นประเด็นปัญหา
ที่ควรสื่อสอนและข้อที่ควรอบรมแนะนำบุตรธิดา
ได้ครบถ้วนรอบด้าน
ชมรมกัลยาณธรรม เล็งเห็นคุณค่า
ของหนังสืออาภรณ์ประดับใจนี้อย่างยิ่ง
ว่ามิได้มีคุณค่าเฉพาะกับเยาวชนหรือผู้เยาว์เท่านั้น
ทุกท่านที่เป็นผู้ใหญ่ทุกวัยก็ไม่ควรพลาด
ถือได้ว่า เป็นหนังสือที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย
ควรอ่านและน้อมนำธรรมอันบริสุทธิ์ประเสริฐนี้
มาใส่ใจตนไว้ดุจเป็นอาภรณ์ประดับใจ
|
|
สิ่งที่ควรทำความเข้าใจกันใหม่ เพื่อความถูกต้อง
โดย
อ. วศิน อินทสระ
สัมมาทิฏฐิคือมรรคข้อแรกในมรรคมีองค์แปด
นั่นแสดงให้เห็นว่า การทำความเห็นให้ถูกต้องตรงธรรม
มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
เพราะถ้ายังไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว ก็จะไม่มีการปฏิบัติต่อ
หนังสือเล่มนี้ จึงเป็นการอธิบายและชี้แจง
เกี่ยวกับความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ของพระพุทธศาสนา
ซึ่งท่าน อ. วศิน ได้อธิบายอย่างละเเอียด
เพื่อให้เราได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักธรรม และเรื่องต่างๆในพระพุทธศาสนา
|
|
กระจกส่องกรรมฐาน
โดย อ.ดร. สนอง วรอุไร
ท่าน อ.ดร. สนอง ได้แนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติกรรมฐาน
สอนให้รู้ถึงว่าในการปฏิบัติควรทำอย่างไร
เพื่อให้กรรมฐานนั้นเจริญยิ่งๆขึ้นไป
เป็นหนังสือที่แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติกรรมฐาน
ตั้งแต่เริ่มต้น เหมาะสำหรับผู้เริ่มปฏิบัติ และผู้สนใจทั่วไป
|
|
พุทธอุทาน
โดย อ.วศิน อินทสระ
พุทธอุทาน คือ คำที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ในโอกาสต่างๆ
ท่าน อ.วศิน อินทสระ ได้นำมาเรียบเรียงและขยายความ อธิบายความหมาย ตลอดจนที่มาของพุทธอุทานเหล่านั้น
พุทธอุทาน ก็คือ พุทธวัจนะแบบหนึ่ง
ลองมาเรียนธรรมจากพุทธอุทานกันดูไหม
|
|
ปฎิบัติธรรมอย่างไรให้ได้ผล
โดย
พอจ.ชาญชัย อธิปญฺโญ
หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมเรื่องที่ พอจ. ชาญชัย ได้เขียนลงไว้ในนิตยสารซีเคร็ท ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๔ โดยที่ท่านได้เขียนอธิบายเพิ่มในบางเรื่อง เพื่อขยายความให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ท่านได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะในภาษาที่เข้าใจได้ง่ายๆ เข้ากันได้กับชีวิตปัจจุบัน ท่านที่ติดตามผลงานของ พอจ.ชาญชัย หนังสือเล่มนี้เป็นอีกเล่มหนึ่งที่น่าสนใจ
|
พุทธันดร
โดย อ.ดร.สนอง วรอุไร
กาลเวลาที่ยาวนานข้ามภพชาติ ปัญญาทางโลกไม่สามารถรู้เห็นเข้าใจได้
ผู้ปฎิบัติธรรมและเข้าถึงธรรมอันสมควรแล้ว จึงได้สมมติคำว่า "พุทธันดร" ขึ้นมา
ใช้เรียกกาลเวลาที่ยาวนานนั้น พร้อมกับได้ชี้แนวทางการเข้าถึงไว้ด้วย
|
|
เหมือนภูเขา
โดย อ.วศิน อินทสระ
อ.วศิน เขียนเรื่องนี้ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนมนุษย์ทุกคน
ผู้ร่วมทุกข์ด้วยกัน ต้องประสบกับสุขบ้าง ทุกข์บ้าง
นินทาบ้าง สรรเสริญบ้าง เป็นธรรมดาโลก
ถ้าเราทำจิตให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ประดุจภูเขาใหญ่
ยืนทะมึนมั่นคงอยู่ พายุร้ายของชีวิตก็จะผ่านพ้นไปเอง
|
|
ของขวัญแห่งชีวิต
โดย พอจ.ไพศาล วิสาโล
ของขวัญอันประเสริฐของชีวิตนั้น ได้แก่อะไร ?
คำตอบมีอยู่แล้วในหนังสือเล่่มเล็กๆ นี้
เมื่อได้อ่านแล้ว ท่านย่อมมองเห็นได้เองว่า
ไม่ว่ายากดีมีจน อยู่ในสถานะใด
เราแต่ละคนล้วนมีสิ่งทรงคุณค่าไม่ได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน
ไม่มีใครต่ำต้อยกว่าใคร กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว
ชีวิตของเราจะมีคุณค่ามากหรือน้อย
ก็อยู่ที่ว่าจะใช้ของขวัญที่มีอยู่นั้นให้เกิดประโยชน์เพียงใดต่างหาก
|
อุบายทำจิตให้สงบ
โดย
อ.ดร.สนอง วรอุไร
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงแนวทางการปฏิบัติ
เกี่ยวกับการพูดคุย ๑๐ ประการ (กถาวัตถุ ๑๐)
ซึ่งคนในสมัยพุทธกาลได้วางไว้ เพื่อให้จิตเข้าถึงความตั้งมั่น
แล้วใช้ปัญญาพิจารณาหลักธรรมโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ)
จนสามารถปลดปล่อยจิตวิญญาณให้เป็นอิสระ เข้าถึงพระนิพพานได้
|
|
อยู่อย่างไรให้ใจไม่ทุกข์
โดย อ.กำพล ทองบุญนุ่ม
หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยธรรมบรรยาย ๓ เรื่อง คือ
อยู่อย่างไรให้ใจไม่ทุกข์ การเจริญสติในชีวิตประจำวัน
และ ไม่หมายมั่น
ท่าน อ.กำพล ได้ถ่ายทอดเทคนิคการปฏิบัติออกมาจากประสบการณ์
โดยตรงของท่าน โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ในการกระตุก กระตุ้น แนะแนวทางการรู้อย่างซื่อๆ และให้กำลังใจในการทำความเพียร
ลองมาศึกษากันดูไหมว่า ทำอย่างไรให้ใจเราไม่ทุกข์
|
เตือนจิตสะกิดใจ
โดย พอจ. สุรศักดิ์ เขมรํสี
ชีวิตคนเราช่างสั้นเหลือเกิน
กว่าจะได้เกิดมาก็ยาก
เกิดมาแล้วก็ยังยากจะมีโอกาสได้พบพระพุทธศาสนา
ได้ศรัทธา ได้ศึกษา ปฏิบัติธรรม
หนังสือเล่มนี้ เป็นโอวาทธรรม
จากพระอาจารย์ สุรศักดิ์ เขมรํสี
ที่จะแนะอุบายและเตือนให้เราไม่ย่อหย่อน
เร่งเตือนตนเองให้ปฏิบัติมากขึ้น
|
|
อริยสัจ ๔
โดย อ. สุภีร์ ทุมทอง
คนทั่วไป เมื่อกล่าวถึง " อริยสัจ ๔ "
ก็มักจะคิดว่า รู้แล้ว ท่องจำกันมาตั้งแต่่ประถม
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
แล้วเรารู้หรือยังว่า " ทุกข์ " คืออะไร ??
ท่าน อ.สุภีร์ ได้นำเอาอริยสัจ ๔ มาขยายความ
และอธิบายโดยพิสดาร
ให้เราได้เห็นถึงความสำคัญ
และการนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ถึงความดับทุกข์
ลองอ่านดู แล้วคุณจะรู้ว่า ทำไมเราถึงทุกข์มาตั้งแต่เกิด... ?
|
|
ธรรมะทวนกระแส
โดย พอจ. ไพศาล วิสาโล
ธรรมชาติของน้ำย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
เมื่อเราเดินทวนกระแสน้ำไปเรื่อยๆ ไปหาต้นน้ำ
เราก็ย่อมต้องเดินสู่ที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ เช่นกัน
เดินด้วยความยากลำบาก เหน็ดเหนื่อย ใช้แรงกาย แรงใจมาก
แต่เมื่อขึ้นสูงไปเรื่อยๆ เราจะพบกับธรรมชาติที่ร่มรื่น เย็นสบาย
สร้างความเพลิดเพลินใจ และความสุขแก่เรา
มีน้ำที่ใสสะอาดมากขึ้นเรื่อยๆ
มีอากาศที่บริสุทธิ์ หายใจได้สะดวก
ธรรมะของพระพุทธเจ้าก็เช่นกัน
เป็นแนวทาง เป็นแผนที่ให้เราเดินตาม
ทวนกระแสกิเลส ด้วยความยากลำบาก
แต่เมื่อเราปฏิบัติตามไปเรื่อยๆ
เราก็จะพบกับความสุขมากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน
ลองมาเดินทางทวนกระแสน้ำ กระแสกิเลส กันไหม ?
|
ความสุขจากความไม่เห็นแก่ตัว
โดย
อ.วศิน อินทสระ
ความสุข...ใครๆ ก็ต้องการ
แล้วความสุขแบบไหนล่ะ ที่ยั่งยืน และมีคุณค่า
เหมือนเช่นกับทรัพย์สมบัติ
ทรัพย์ที่ได้มาโดยสุจริต ย่อมทำให้ผู้รับมีความสุขโดยไม่ต้องกังวล
แต่ทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่สุจริต ย่อมทำให้จิตใจไม่สงบสุข
อ.วศิน ท่านได้แนะนำการสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับเรา
โดยการไม่เห็นแก่ตัว และ ไม่ยึดมั่นถือมั่น
เพราะเป็นความสุขที่สะอาด สงบ เย้น
เป็นความสุขที่แท้จริงและไม่ทำให้เราต้องเดือดร้อนใจภายหลัง
|
|
ดูความรู้สึก
โดย หลวงพ่อสมบูรณ์ ฉตฺตสุวณฺโณ
สำคัญที่สุดเลย ชีวิตเราเกิดมาทำไม...
เกิดมาให้รู้จักอันนี้ไง ถ้าไม่รู้จักเรียกว่าเสียชาติเกิด
ฉะนั้นชาตินี้ของเราเรียกว่ามหาชาติ
ไม่ต้องรอบำเพ็ญชาติหน้าหรอก
เอามันได้ชาตินี้เดี๋ยวนี้เลย เห็นเดี๋ยวนี้
|
|
กองทัพทั้งสิบของมาร
โดย
พระกัมมัฏฐานจริยะ อู บัณฑิตาภิวังสะ
พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบ กิเลสกาม ความไม่ยินดี
ความหิวกระหาย ความทะยานอยาก
ความหดหู่เชื่องซึม คามกลัว ความลังเลสงสัย
ความดื้อและลบหลู่คุณท่าน
ลาภสรรเสริญ สักการะ และการยกตนข่มผู้อื่น
เป็นเสมือนกองทัพของมารที่คอยเข้าจู่โจมจิตใจของผู้ที่กำลังมุ่งมั่น
เดินทางสู่พระนิพพาน
พระพุทธเจ้าท่านทรงเอาชนะกองทัพทั้งสิบมาได้แล้ว
เหลือแต่เราที่ยังสู้กับกองทัพเหล่านี้อยู่
ลองมาศึกษาดูกันว่า กองทัพเหล่านี้มีลักษณะอย่างไร
แล้วเราจะมีวิธีการเอาชนะได้อย่างไรบ้าง |
|
คุณภาพชีวิตเปลี่ยนเมื่อมีธรรมะ
โดย
อ. ดร. สนอง วรอุไร
คนเราทุกคนก็อยากให้ชีวิตของเราดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น
แต่เราจะเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้อย่างไรกัน
ท่าน อ.ดร.สนอง ได้อธิบายถึงการนำธรรมะเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเรามีธรรมะคุมใจแลัว
ชีวิตของเราก็จะดีขึ้น มีความสุขมากขึ้นเอง |
|
สร้างความสุขในครอบครัว ด้วยหัวใจใฝ่ธรรม
โดย
อ.สุภีร์ ทุมทอง
ครอบครัวประกอบด้วยคนหลายคน หลายวัย หลากความคิด
การที่คนเราจะด้วยกันได้อย่างมีความสุข
จะต้องนำธรรมะเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิต
ท่าน อ. สุภีร์ได้อธิบายถึงหลักธรรมในการครองเรือน
และเพื่อการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข |
|
คุณพระรัตนตรัยและการเข้าถึง
โดย
อ.วศิน อินทสระ
พระรัตนตรัยมีคุณต่อเรามากมาย
จากบทสวดมนต์ที่เราสวดสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัย
เรารู้กันไหมว่า มีความหมายอย่างไร ?
ท่าน อ. วศิน อินสระ ได้เขียนอธิบาย
ความหมายของบทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยแต่ละข้อ
ได้อย่างลึกซึ้ง กินใจ
หากได้อ่านแล้วรับรองว่า
ท่านจะสวดมนต์ได้อย่างเข้าถึงคุณของพระรัตนตรัยจริงๆ
|
|
รุ่งอรุณที่สุคะโต
โดย
พอจ. ไพศาล วิสาโล
หนังสือที่รวบรวมคำบรรยยายธรรมเล่มแรกๆ
ของพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
เล่มที่ถูกพิมพ์ซ้ำ ครั้งแล้ว ครั้งเล่า
ชมรมกัลยาณธรรมได้ขออนุญาตนำมาพิมพ์ใหม่
ในโอกาส ๓๐ พรรษาของ พอจ. ไพศาล วิสาโล
ธรรมะที่เรียบง่าย สามารถหาได้จากธรรมชาติรอบตัวเรา
|
|
จริยธรรมสำหรับผู้บริหารและธรรมาภิบาล
โดย
อ.ดร. สนอง วรอุไร
ผู้บริหาร คือผู้ที่ต้องดูแล ควบคุม จัดการ องค์กร
ทั้งกำลังคน การทำงาน ให้สำเร็จตามเป้าหมายและนโยบายขององค์กร
ซึ่งจะสำเร็จได้ ก็ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนในองค์กร
นั่นคือหน้าที่ของผู้บริหาร
ท่าน อ.ดร.สนอง ได้บรรยายเกี่ยวกับจริยธรรมที่ผู้บริหารควรมี
เพื่อจะได้บริหารองค์กรได้ราบรื่น
โดยเน้นว่า "ก่อนจะบริหารผู้อื่น ต้องบริหารตนเองใหได้ก่อน"
|
|
บ่อเกิดแห่งบุญ
โดย
อ.ดร. สนอง วรอุไร
บุญ... ใครๆ ก็อยากได้ อยากมี
แล้วจะได้บุญจากที่ไหนล่ะ ??
ท่าน อ. ดร. สนอง ได้มาเล่าให้เราได้รู้
ถึงการประพฤติ ปฏิบัติให้เกิดบุญ
แต่บุญก็มีหลายอย่าง
และมีอานิสงส์แตกต่างกันไปนะ
|
|
ของวิเศษในพระไตรปิฎก
โดย ท่านพุทธทาส อินทปัญโญ
ธรรมะของพระพุทธเจ้า มีมากมายถึง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ท่านพุทธทาส ได้คัดเลือกบางบทมาเพื่อบอกเราว่า
เพียงเรามีความเพียร มีความตั้งใจมั่น
ของวิเศษจากพระไตรปิฎกนี้
จะนำพาให้เราพ้นทุกข์
และออกจากสังสารวัฏนี้ได้ไม่ยากเลย
|
|
ธรรมชาติกับชีวิต
โดย อ. วศิน อินทสระ
" ธรรมะย่อมมีอยู่ทุกหย่อมหญ้า "
คือ คำตอบที่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ตอบแก่ผู้ที่ถามท่านว่า
" ทำไมท่านจึงแตกฉานในธรรมะ ทั้งๆที่ไม่ได้เรียนปริยัติมา ?"
ท่าน อ. วศิน ได้นำเอาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ่ายวันหนึ่ง
มาถ่ายทอดบรรยากาศ พร้อมทั้งสอดแทรกธรรมะ
ในเชิงเปรียบเทียบกับเหตุการณ์เหล่านั้น
ธรรมชาติสอนเราได้ทุกอย่าง รวมทั้งธรรมะ
เพราะธรรมะ ก็คือ ธรรมชาติ
|
|
สามทศวรรษ พระไพศาล วิสาโล
ภาค 1 ภาค 2
จากเด็กหนุ่มมุ่งมั่นทำงานเพื่อมวลชน
มาบวชเป็นพระ ก็ยังคงทำงานเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน
แม้ว่าสถานะของพระ จะมีศีลมีข้อบังคับมากมาย
แต่ไม่เคยเป็นอุปสรรคในการทำงานของท่านเลย
เนื่องในโอกาสที่ปีนี้ เป็นปีที่ครบสามสิบปีของ พอจ.ไพศาล
ทางชมรมจึงได้ร่วมกับคณะศิษย์ของ พอจ. ไพศาล
จัดทำประวัติและผลงานของท่าน เพื่อถวายเป็นอาจริยบูชา
" ชีวิตอาตมา
แค่เป็นพระอย่างเดียว ก็เป็นเกียรติและประเสริฐที่สุดในชีวิตแล้ว
ไม่มีอะไรสูงสุดกว่าการเป็นพระ
ที่เหลือเป็นส่วนเกิน "
|
|
ธรรมสำหรับผู้สูงอายุ
โดย
อ. วศิน อินทสระ
ผู้สูงอายุ เปรียบเมือนต้นไม้ใหญ่ผู้สูงอายุที่มีธรรมะประจำใจ
ก็เหมือนต้นไม้ใหญ่ที่มีร่มเงา
ชวนให้ลูกหลานและผู้คนเข้ามาอาศัยร่มเงาได้อยู่อย่างมีความสุข
ท่าน อ.วศิน ได้รวบรวมหลักธรรมที่จำเป็น
สำหรับผู้สูงอายุได้นำไปปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดความเจริญ และเป็นที่รักแก่ลูกหลาน
แต่ผู้ที่ยังอายูไม่มาก
หากได้ศึกษาไว้ ก็จะกลายเป็นผู้ที่ร่มเย็นเช่นกัน
และเป็นที่รักแก่ผู้คนที่ได้คบหาและพึ่งพิง
|
|
ราชรถสู่พระนิพพาน
โดย พระกัมมัฏฐานาจริยา อู บัณฑิตาภิวังสะ
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเปรียบเทียบ การปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น ว่า
เป็นการเดินทางโดยราชรถไปสู่
“ภูมิที่ปราศจากภัย เป็นอิสระจากความหวาดกลัวใดๆ ”
ซึ่งนั่นก็คือ พระนิพพานนั่นเอง
ราชรถนี้ประกอบด้วย
ล้อทั้งสอง คือ ความเพียรทางกาย และ ใจ
หิริ เป็น พนักพิง
สติ เป็น เกราะกำบัง และ
สัมมาทิฏฐิ จะ เป็น สารถี
พระอาจารย์ อู บัณฑิตาภิวังสะ ได้นำเอาคำเปรียบเทียบนี้
มาอธิบายโดยละเอียด พิสดาร
เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อความสำคัญของธรรมะแต่ละข้อ
สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปสู “ภูมิที่ปราศจากภัย เป็นอิสระจากความหวาดกลัวใดๆ ”
สมควรที่จะอ่านและศึกษา
เพื่อเตรียมตัวเดินทางให้พร้อม
|
|
ปัญญาอบรมสมาธิ
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
การภาวนาเพื่อให้ใจสงบ ถ้าสงบด้วยการปลอบโยนจากการบริกรรมไม่ได้
ก็ต้องภาวนาด้วยการปราบปรามขู่เข็ญ
คือ ค้นคิดหาเหตุผลในสิ่งที่จิตติดขัดข้องด้วยปัญญา
แล้วแต่ความแยบคายของปัญญาจะหาอุบายทรมานจิตดวงพยศ
จนปรากฏใจยอมจำนนตามปัญญาว่าเป็นความจริงอย่างนั้น....
ลองมาดูกันว่า หลวงตามหาบัว จะแนะนำให้เราใช้ปัญญา
ไปปราบปรามขู่เข็ญ อบรมใจให้เกิดสมาธิได้อย่างไร
|
|
ทางสู่ธรรม
อ.สุภีร์ ทุมทอง
ท่านอาจารย์สุภีร์ ทุมทอง จะนำพวกเราไปตามทางสู่ธรรม
...ทางสู่ธรรม จะพัฒนาก้าวหน้าไปได้
ต้องเข้าใจถึงเทคนิคการฝึกความรู้สึกตัว สัมผัสความรู้สึกทางกายใจ
เพื่อเดินไปบนทางสายเอก ด้วยการปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม
ตามหลักแห่งอริยสัจ ๔ เพื่อให้ช่วงเวลาอันจำกัด
ที่มีค่ายิ่งของมนุษย์ทุกรูปนาม จะได้สร้างสรรค์
พัฒนาศักยภาพอย่างคุ้มค่าที่สุด
|
|
แว่นส่องธรรม
อ.ดร.สนอง วรอุไร
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง....
แล้วพ่อล่ะ มีบุญคุณมากแค่ไหน ??
ไม่ค่อยมีใครพูดถึงเลยสินะ
อ.วศินได้รวบรวมพระคุณของพ่อ
รวมทั้งตัวอย่างและธรรมะที่ได้จากพ่อในสมัยพุทธกาล
นำมาเล่าให้พวกเราได้อ่าน
ได้รำลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของท่าน
|
|
สุภัททานุสรณ์
พระโพธิญาณเถร
(ชา สุภทฺโท)
เป็นหนังสือที่รวบรวมเหตุการณ์
การจาริกไปเผยแผ่ธรรมของพระอาจารย์ชา สุภัทโท
รวมทั้งการสนทนากับลูกศิษย์ชาวต่่างประเทศด้วย
เราจะได้เรียนรู้ว่า
หลวงพ่อชา ที่พูดภาษาต่างประเทศไม่ได้
จะสามารถเผยแผ่ธรรมในต่างแดนได้่อย่างไร
|
|
พระคุณของพ่อ
อ.วศิน อินทสระ
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง....
แล้วพ่อล่ะ มีบุญคุณมากแค่ไหน ??
ไม่ค่อยมีใครพูดถึงเลยสินะ
อ.วศินได้รวบรวมพระคุณของพ่อ
รวมทั้งตัวอย่างและธรรมะที่ได้จากพ่อในสมัยพุทธกาล
นำมาเล่าให้พวกเราได้อ่าน
ได้รำลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของท่าน
|
|
สนทนาธรรมกับพระธรรมทูต
อ.วศิน อินทสระ
พระธรรมฑูต คือ ผูัที่จะออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างแดน
พระธรรมฑูต จึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ
ในธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี
สามารถอธิบาย และตอบคำถามของผู้ที่ยังไม่นับถือพุทธศาสนาได้
อีกทั้งยังต้องมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมของผู้คนในสถานที่นั้นได้ดี
อ. วศินได้บรรยายให้พระธรรมฑูตฟังเกี่ยวกับการเตรียมตัว
ก่อนที่จะเดินทางไปเป็นผู้เผยแผ่พระศาสนายังต่างแดน
แต่ธรรมะสำหรับพระธรรมฑูตนั้น
ก็ไม่ต่างอะไรกับธรรมะของผู้ที่ใฝ่ศึกษาธรรม
เพราะถ้าเราไม่เข้าใจในธรรมะแล้ว
เราก็ไม่สามารถปฏิบัติไปสู่ความหลุดพ้นได้เช่นกัน
|
|
มรณสติ
อ.สุภีร์ ทุมทอง
พรุ่งนี้กับชาติหน้า อะไรจะมาก่อนกัน ??
ถ้าพรุ่งนี้คุณไม่หายใจ สิ่งที่คุณหามาทั้งหมด... จะทำอย่างไร ??
เห็นไหม... แค่นี้ คุณก็เริ่มตระหนักถึงความตายที่ยังมาไม่ถึง
พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการเจริญมรณสติ
ถึงกับยกย่องผู้ที่สามารถเจริญมรณสติได้อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
ลองดูสักนิดไหม... ?
ไม่มีใครรู้หรอกว่า... พรุ่งนี้เช้าจะเป็นอย่างไร ????????
|
|
พระอานนท์ พุทธอนุชา
อ.วศิน อินทสระ
วรรณกรรมทางศาสนาที่ได้รับการยกย่องจาก
Encyclopedia of World Literature in 20th Century
ว่าเป็นวรรณกรรมที่น่าอ่าน สามารถนำมาเป็นหลักในการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบันได้
พระอานนท์ ผู้เป็นเลิศถึงห้าประการ
ผู้เป็นพระอุปัฏฐากอันเป็นเลิศ
ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า
ไม่มีพระพุทธอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าองค์ใดที่จะดีเกินกว่าพระอานนท์เลย
ด้วยความเป็นเลิศทางการทรงจำพระธรรม
เราจึงได้รับมรดกธรรม เป็นพระไตรปิฏก
ซึ่งพระอานนท์สามารถทรงจำมาได้แปดหมื่นกว่าพระธรรมขันธ์
|
|
โวทานธรรม
อ.วศิน อินทสระ
โวทานธรรม แปลว่า ธรรมที่สะอาดผ่องแผ้ว
ท่าน อ.วศิน ได้รวบรวมเอา พุทธศาสนสุภาษิตต่างๆ
มารวมกันไว้เป็นเล่มเดียวกัน
ให้เราได้อ่านง่ายๆ สบายๆ
แต่ได้ข้อเตือนใจเราทุกๆประโยค
สมกับชื่อ โวทานธรรม - ธรรมที่สะอาดผ่องแผ้ว
|
|
ธรรมะชาวบ้าน
หลวงตามหาบัว
ด้วยคำสอนที่เรียบง่าย สำหรับคนธรรมดา
จากการรวบรวมคำสอนของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
มาเรียบเรียงเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ
สำหรับให้อ่านกันสบายๆ
เริ่มจาก ทาน ศีล แล้วก็ไปภาวนากัน
เหมาะสำหรับติดตัวไว้อ่าน
|
|
หลักธรรมอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา
อ.วศิน อินทสระ
ถ้าใครถามว่า " หัใจของพระพุทธศาสนา คืออะไร ?"
เราจะตอบได้ไหม ??
นอกจาก อริยสัจสี่ มรรคมีองค์แปด แล้ว
จะยังมีหลักธรรมอันใดอีกไหม ?
ทาน อ. วศิน ได้รวบรวมสรุปหลักธรรม
ที่เป็นแก่น เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
หลักธรรมอันทำให้เราพ้นทุกข์ได้
ทำให้ศาสนาพุทธ แตกต่างจากศาสนาอื่นๆในโลก
ลองมาศึกษากันดูนะ ว่าเรารู้อะไรบ้างหรือยัง ?
|
|
คุณสมบัติพื้นฐานของชาวพุทธ
อ.วศิน อินทสระ
เป็นชาวพุทธ ต้องเป็นอย่างไร ???
เป็นชาวพุทธ แล้วชอบดูดวง...
เป็นชาวพุทธ แล้วกราบไหว้อ้อนวอนเทวดา
เป็นชาวพุทธ แล้วไหว้ราหู ไหว้ชูชก
แล้วคุณล่ะ...เป็นชาวพุทธแบบไหน ???
|
|
ธรรมเพื่อครองใจคน
อ.วศิน อินทสระ
หนังสือสองเล่ม แต่เป็นธรรมเพื่อผู้ครองเรือนทั้งคู่
เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการใช้ชีวิตฆราวาส
อ. วศิน อินทสระ ได้แนะนำหลักธรรม เพื่อการใช้ชีวิตฆราวาส
หลักธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกัน และสร้างความสำเร็จในชีวิต
บัดนี้ ชมรมกัลยาณธรรม ได้นำมารวมกัน
เพื่อให้ท่านได้อ่านอย่างต่อเนื่องกันแล้ว
|
|
ความสุขอันประเสริฐ
พระไพศาล วิสาโล
คนเราทุกคน ย่อมปราถนาความสุข
แต่ความสุขที่คนส่วนใหญ่แสวงหา
เป็นความสุขที่เจือด้วยทุกข์ และมักนำความทุกข์ตามมาด้วย
ทั้งในระหว่างที่ไขว่คว้า และเมื่อได้มาครอบครองแล้ว
แต่มีความสุขอีกแบบหนึ่ง
เป็นความสุขที่เกิดจากความสงบ
ไม่ต้องไขว่คว้าหามา ไม่เจือด้วยทุกข์
เราเรียกความสุขนั้นว่า
" ความสุขอันประเสริฐ "
ลองมาดูกันซิว่า
ความสุขที่ พอจ. ไพศาล พูดถึง
เป็นความสุขแบบไหนกัน....
|
|
พึงตามรักษาจิตตน
พระครูเกษมธรรมทัต
จิตเราไม่ชอบอยู่นิ่ง มักจะวิ่งแส่ส่ายไปมาตลอดเวลา
เราจึงคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ไม่ได้หยุดหย่อน
พระพุทธองค์ทรงสอนให้เรารู้จักรักษาจิตของเรา
ให้อยู่แต่ในที่ที่คุ้นเคย อยู่ในถิ่นของพระบิดา
จะได้ไม่ถูกกิเลสชักนำให้ไปในทางที่ผิด
ลมหายใจ คือ สถานที่ที่หาง่ายและคุ้นเคยกับเราที่สุด
เพียงแค่คอยตามรู้ลมหายใจเข้า ออก สั้น ยาว
|
|
มิตรในเรือนใจ
พระไพศาล วิสาโล
ใครๆก็อยากมีเพื่อน โดยเฉพาะเพื่อนสนิทใกล้ชิด ไปไหนไปด้วย ร่วมทุกข์ ร่วมสุขกัน ไม่ทอดทิ้งกัน
พอจ. ไพศาลได้แนะนำเพื่อนให้เรารู้จัก เพื่อนที่จะอยู่ใกล้ชิดกับเรา ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน เพื่อนที่จะเป็นกัลยาณมิตรที่ดีให้แก่เรา
|
|
รู้แจ้งปรมัตถธรรม ด้วยการเจริญพละ ๕
โดย พระกรรมมัฏฐานาจริยะ อู บัณฑิตาภิวังสะ
การเจริญวิปัสสนา เป็นการพัฒนาองค์ประกอบของจิต (เจตสิก) ฝ่ายกุศล ให้เข้มแข็งจะกระทั่งสามารถคุ้มครองจิตได้อย่างต่อเนื่อง องค์ธรรมเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า " พละ " ซึ่งมี ๕ ประการ ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ ปัญญา ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้อง จะช่วยพัฒนาศรัทธาให้มั่นคง มีความเพียรแรงกล้า มีสมาธิหยั่งลึก มีสติรู้รอบ อันเป็นผลให้เกิดปัญญาสูงขึ้น จนสามารถหยั่งรู้ความจริงอันสูงสุด และกำจัดอวิชชาให้หมดสิ้นไป
|
|
ดับ ว่าง สงบ เย็น
พระครูวินัยธร (หลวงพ่อเอี้ยน)
สำนักวิปัสสนา วังสันติบรรพต (วัดวังเนียง) พัทลุง
"... ไม่ใช่กู.... "
คำพูดติดปากที่เรามักได้ยินจากหลวงพ่อเอี้ยน
ผู้ที่เป็นลูกศิษย์ท่านพุทธทาส
จากการศึกษาและปฏิบัติที่สวนโมกข์อยู่หลายปี
จากคำสอนของท่านพุทธทาส " ตัวกู - ของกู "
จนกลายมาเป็นคำพูดประจำตัวและแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา
ลองมาอ่านกันดูนะว่า... ทำไม... ไม่ใช่กู... ???
|
|
พัฒนาชีวิตด้วยสัมมาทิฏฐิ
อ.วศิน อินทสระ
ความเห็นที่ถูกต้องและความคิดที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตมนุษย์
เพราะเขาย่อมดำเนินชีวิตตามความเห็นและความคิด
ถ้าเห็นผิดและคิดผิดก็จะดำเนินชีวิตไปในทางที่ผิด
ไปสู่อันตรายและทุกข์ยากลำบาก
ถ้าเขาคิดถูกและเห็นถูกก็จะดำเนินชีวิตไปในทางที่ดี
ได้พบกับความสุขและความสำเร็จอันดีงามในชีวิต
|
|
ท่านอาจารย์พุทธทาส คนไข้ที่ผมได้รู้จัก
บันทึกการรักษา ท่านพุทธทาส
นพ. นิธิพัฒน์ เจียรกุล
... ไม่สบายทุกที ก็ฉลาดขึ้นทุกทีเหมือนกัน.....
ท่านพุทธทาส ได้สอนธรรมะ
ให้เราเรียนรู้อริยสัจจากความเจ็บป่วย
จากหมอที่ไปรักษาอาการป่วยให้ท่านพุทธทาส
กลายมาเป็นนักเรียนที่มาเรียนธรรมะจากท่านพุทธทาสแทน
เรียนจากอาการเจ็บป่วยจริงของท่านพุทธทาส
ท่านพุทธทาสได้เปิดแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วย
และการเรียนรู้สัจธรรมจากการเจ็บป่วย ให้กับหมอที่มารักษา
อยากฉลาดขึ้นไหมล่ะ..... ????
|
|
การสร้างคุณภาพชีวิต
อ.วศิน อินทสระ
การมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข เป็นสิ่งที่ปราถนาของคนทุกคน
ท่าน อ. วศิน ได้บรรยายเรื่องการพัฒนาตน ให้มีชีวิตอย่างมีคุณภาพมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐
จากบทบรรยายนั้น
ก็ได้มีผู้นำไปพิมพ์มากมายหลายครั้งมาจนถึงทุกวันนี้
ชมรมกัลยาณธรรมได้นำมาจัดพิมพ์ใหม่ เพื่อเป็นธรรมบรรณาการ แก่ชีวิตที่มีคุณภาพของทุกๆท่านแล้ว
|
|
รู้กาย รู้จิต สิ้นทุกข์
อ. กำพล ทองบุญนุ่ม
กายและใจ มีไว้ให้รู้
รู้ให้เห็นแจ้งตามความเป็นจริง
เมื่อรู้แล้วเราก็จะสิ้นทุกข์ได้
อ.กำพล มาท้าให้ลอง ท้าให้ทำ ท้าให้เจริญสติ
เมื่อมีสติแล้ว จะมีสุขเพิ่มขึ้น มีทุกข์ลดลง
จริงไหม.... ?????
|
|
ตายแล้วไปไหน
ดร.สนอง วรอุไร
" ชีวิตเลือกได้ " " ชีวิตออกแบบได้ "
คุณเคยได้ยินคำโฆษณาเหล่านี้ใช่ไหม ??
แล้วคุณคิดว่าจะออกแบบได้อย่างไรล่ะ ?
ท่าน อ.ดร. สนอง ได้มาชี้แนะว่า
ก่อนตายทำอะไรไว้... ตายแล้ว จะไปไหน ??
ไปที่ชอบที่ชอบไงล่ะ......
|
|
การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
อ.วศิน อินทสระ
อ. วศิน ได้นำรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวก่อนการปรินิพพาน
ของพระพุทธองค์
มาเล่าให้อ่านกัน จนถึงวันที่ปรินิพพาน และ ถวายพระเพลิง
ล้วนแต่เป็นเหตุการณ์ที่อัศจรรย์ และแสดงให้เห็นถึง
พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
ที่มีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย
|
|
เตรียมตัวก่อนตาย
ดร.สนอง วรอุไร
ความตายไม่ใช่สิ่งน่ากลัวความตายไม่ใช่สิ่งอัปมงคล
" มรณานุสติ " เป็นหนึ่งในอนุสติสิบ
อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
เพราะเราทุกคนต้องตายการระลึกถึงความตาย
เป็นการเตือนให้เราเตรียมตัวก่อนที่เราจะตายจริงๆ
|
xxxxx
|
พระพุทธบารมีในอดีต
อ.วศิน อินทสระ
ท่าน อ.วศิน อินทสระ ได้เขียนเกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมี
ของพระพุทธเจ้า ในชาติต่างๆ ในแต่ละชาติ
ที่พระพุทธองค์ได้เกิดมา
ก็จะมีการบำเพ็ญบารมีในเรื่องต่างๆ มาตลอด
แต่จะมีบางชาติที่จะเน้นหนักเป็นบางเรื่อง
หรือที่เรารู้จักกันว่า ทศชาติ ทศบารมี
ท่านได้สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี
เข้าไปไว้ในเรื่องราวแต่ละชาติของพระพุทธองค์ด้วย |
|
อานาปานสติ
อ.สุภีร์ ทุมทอง
พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ อานาปานสติ ว่า
ผู้ใดฝึกได้มาก ย่อมทำให้สติปัฏฐานสี่บริบูรณ์
ซึ่งจะทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์
และถึงพร้อมด้วยวิชชาและวิมุตติในที่สุด
อ.ุสุภีร์ ได้้อธิบายถึง อานาปานสติ อย่างละเอียด
ทำให้เข้าใจถึงวิธีและอานิสงส์ของการทำอานาปานสติ |
|
มองมุมวิปัสสนา
อ.สุภีร์ ทุมทอง
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์
ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน
วิปัสสนา คือการฝึกให้เกิดปัญญา ยอมรับความจริงเหล่านี้
สัตว์ทั้งหลายย่อมไหลไปตามกระแสตัณหา
มีสติเป็นเครื่องกั้นกระแส
มีปัญญาเป็นเครื่องป้องกั้นและถอดถอนกระแสนั้น
อ.สุภีร์ได้มาชี้ให้เห็นความเป็้นจริง
และจุดมุ่งหมายในการทำวิปัสสนา |
|
ปฏิบัติตามลำดับ
อ.สุภีร์ ทุมทอง
สมาธิ เป็นธรรมะตัวกลางในการที่จะทำให้เราเกิดปัญญา
แต่ไม่ใช่ว่า มาเริ่มต้น ก็ทำสมาธิเลย
อ. สุภีร์สรุปจากพระไตรปิฎกได้ว่า
มีอยู ๕ ขั้นตอน ในการที่จะทำให้เรามีสัมมาสมาธิได้ดี |
|
กายาคตาสติ
อ.สุภีร์ ทุมทอง
พระพุทธองค์ทรงตรัสถึง กายคตาสติ ว่า
หากทำให้มากแล้ว จะมีผลมา มีอานิสงส์มาก
และทรงตรัสสอนถึงการทำกายคตาสติ 18 วิธี
ซึ่ง อ. สุภีร์ ได้นำมาอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น
พร้อมทั้งแนะนำว่า ผู้ที่เริ่มปฏิบัติใหม่ๆ สมาธิยังไม่มากพอ
ก็ควรใช้ฐานกายนี้เป็นเจ้าเรือน ให้สติมาเกาะอยู่
เพราะฐานกายนี้ใหญ่ หนักแน่น มองเห็นง่าย
ทำให้สติไม่ล่องลอยไปไกล |
|
ลำธารริมลานธรรม ๒
พระไพศาล วิสาโล
เกร็ดประวัติและเรื่องราวของครูบาอาจารย์ที่เป็นพระสุปฏิปันโนนั้น
นอกจากเป็นแบบอย่างแห่งการดำเนินชีวิตที่งดงามแล้ว
ยังเป็นภาพปรากฏแห่งธรรมที่มีชีวิตชีวา
อันเราสามารถแลเห็นและจับต้องได้
ทำให้ธรรมะมิใช่เป็นเพียงแค่หลักการทางนามธรรม
ที่ต้องใช้เหตุผล ในการทำความเข้าใจเท่านั้น
รูปธรรมแห่งธรรมะดังกล่าวสามารถให้แรงบันดาลใจแก่ผู้คน
ในการน้อมนำมาปฏิบัติได้เป็นอย่างดี
ใช่แต่เท่านั้น เรื่องราวของท่านเหล่านั้น
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคคลในอดีต
ยังสะท้อนให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมหรือวิถีปฏิบัติอันดีงาม
ของสงฆ์ที่นับวันจะเลือนหายไป ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า
การนำเกร็ดประวัติของพระดีพระแท้ทั้งหลาย
มาเรียบเรียงเผยแพร่จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน
เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าเคยได้รับมาแล้ว |
|
ธรรมะสำหรับผู้ป่วย
พระไพศาล วิสาโล
ความเจ็บป่วย เป็นธรรมดาของชีวิต คนเราทุกคนย่อมต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยด้วยกันทั้งนั้น
แต่ในยามที่เราเจ็บป่วยทางกาย การดูแลรักษาใจไม่ให้เจ็บป่วยตาม ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย หลายคนที่ป่วยทางกายเพียงเล็กน้อย แต่ป่วยทางใจมากกว่า ด้วยความคิดกังวลต่างๆ ทำให้อาการทรุดหนักลงเร็วกว่าเดิม
เราลองมาศึกษาและหาทางเยียวยารักษาใจกันดูบ้างไหม? บางครั้ง หากใจไม่ป่วย ร่างกายเราก็หายป่วยเร็วขึ้น
เหมือนดังพุทธพจน์ที่ว่า "ท่านพึงสำเหนียกว่า ถึงกายเราจะมีโรครุมเร้า แต่ใจของเรา จักไม่มีโรครุมเร้าเลย" |
|
ความดีและอานุภาพของความดี
อ.วศิน อินทสระ
อะไรคือ ความดี ...???
อะไรคือ ความชั่ว ....???
ทำไมทำดีแล้วไม่ได้ดี....???
อานุภาพของความดีคืออะไร...???
วิธีการสร้างความดี...???
ในทางพุทธศาสนาถือว่า การกระทำใดๆ ทั้งกาย วาจา ใจ
ที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน
และมีประโยชน์ ก็ถือว่าเป็นความดี
การกระทำใดๆ ทั้งกาย วาจา ใจ
ที่ทำให้ตนเองและผู้อื่นมีความเพลิดเพลิน
แต่ไม่มีประโยชน์ ซ้ำยังอาจเป็นโทษด้วย
ก็ถือว่าเป็นความชั่ว
ลองมาศึกษากันดูไหม...
ว่าอะไรคือความดี ?
แล้วเราจะทำดีได้อย่างไร ?
ทำดีแล้ว มีอานุภาพอย่างไร ? |
|
ท้าให้ทำ
อ.กำพล ทองบุญนุ่ม
การบรรลุถึงพระนิพพาน ไม่สามารถทำได้โดยการอ่าน การฟัง การศึกษา พระปริยัติธรรมเท่านั้น
แต่ยังต้องหมั่นฝึกฝน หมั่นปฏิบัติ เรียนรู้กาย เรียนรู้ใจตนเอง
เป็นทางสายเอก ที่ต้องเดินไปคนเดียว
"ท้าให้ทำ" เป็นหนังสือที่ให้ท่านได้พิสูจน์คำสอนในพระพุทธศาสนา
ด้วยการลงมือปฏิบัติเอง
คือ ให้ขยันเจริญสติให้มาก จนเกิดปัญญา ที่เรียกว่า "ภาวนามยปัญญา"
ซึ่งเป็นปัญญาที่แท้และดับทุกข์ได้จริง
ท่านที่คิดว่าตนเองปฏิบัติไม่ได้ ปฏิบัติอย่างไรก็ไม่ได้ผล
ไม่อยากปฏิบัติอีกแล้ว ไม่อยากฝึกฝนอีก
ลองมาอ่านดูว่า ท่านอาจารย์กำพล ท่านทำอย่างไร
จากคนที่เป็นทุกข์เพราะอัมพาต ขยับร่างกายไม่ได้
ตอนนี้ท่านไม่ทุกข์แล้ว....และท่านก็มา
ท้าให้ทุกท่านลองทำตามท่านดูบ้าง |
|
เพชรแห่งธรรม
อ.วศิน อินทสระ
หนังสือเล่มนี้ เป็นการรวบรวมบทบรรยายทางสถานีวิทยุ
ของ อ. วศิน อินทสระ
โดยเลือกเอาบทสั้นๆ มารวมกันเป็นเล่ม
แต่มีอยู่เรื่องหนึ่ง ที่่เป็นการบรรยายที่ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓
และได้รับรางวัลชมเชย ประเภทสร้างสรรค์ ด้านศาสนา
จากกระทรวงศึกษาธิการ
บทบรรยายเหล่านี้ ถือได้ว่าเป็นเพชรน้ำงามแห่งธรรม
และได้สร้างความประทับใจแก่ผู้คนมานักต่อนักแล้ว |
ั
|
หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด
อ.วศิน อินทสระ
กรรมมีหลายประเภท ทำหน้าที่และให้ผลแตกต่างกันไป
ทำให้เราบางครั้งรู้สึกว่า ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว
ลองมาอ่านกันดูสิครับ...ว่า
กรรมแต่ละประเภทให้ผล และทำหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร
ทำไม ดูเหมือนว่า ทำดีแล้วไม่ได้ดี
แต่ที่แน่ๆ ไม่มีแรงอะไรสู้แรงกรรมได้ครับ
ใครทำกรรมอะไร ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น
แต่.... ถ้าเราทำ....ล่ะ.... ผลรวมของกรรมจะเปลี่ยนไปไหม???? |
|
โพชฌงค์
พระกัมมัฏฐานาจริยะ
บุคคลไม่อาจบรรลุธรรมได้
โดยการนั่งมองท้องฟ้า
โดยการคิดคำนึง
โดยการศึกษาพระไตรปิฎก
แต่รากฐานที่สำคัญของการบรรลุธรรม คือ โพชฌงค์ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๗ ประการ
เราได้เคยได้ยินเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยการสวดโพชฌงค์
ทั้งๆ ที่ โพชฌงค์ คือ องค์ธรรมเพื่อการรู้แจ้ง
เราลองมาศึกษากันดูว่า ทำอย่างไร เราจึงจะรู้แจ้งได้
โดยอาศัย หลักของโพชฌงค์ ๗ ประการ |
|
การพัฒนาศักยภาพตนเอง
ดร.สนอง วรอุไร
การเกิดเป็นมนุษย์ เป็นโชคลาภอันสูงสุด
เพราะเราได้มีโอกาสพัฒนาจิตวิญญาณของเรา
ให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้
รุ่งอรุณแห่งความรู้แจ้ง ประกอบด้วย โยนิโสมนสิการ และ กัลยาณมิตร
ท่านอาจารย์ ดร.สนอง ถือเป็นกัลยาณมิตรที่ยิ่งใหญ่
ท่านได้อุทิศแรงกายแรงใจนำธรรมะมาเผยแผ่แก่ทุกๆคน
เพื่อจะได้พัฒนาจิตวิญญาณเข้าสู่เข้ารู้แจ้ง
หนังสือเล่มนี้ ได้รวบรวมคำบรรยายในโอกาสต่างๆ
ของท่านอาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร
เพื่อเป็นอาจาริยบูชา เนื่องในโอกาสมงคลวาระครบ ๗๓ ปีของท่าน
ลองมาอ่านดูกันนะ
ว่าเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว มีโชคสูงสุดอย่างไร
แล้วเราจะพัฒนาจิตวิญญาณของเรา
ให้เข้าถึงความรู้แจ้งได้อย่างไรบ้าง |
|
สายกลาง
อ.สุภีร์ ทุมทอง
ในศาสนาพุทธมีคำว่าสายกลางอยู่มากมายหลายเรื่อง
ในทางโลก คนเรามักจะเลือกทางสุดโต่งอยู่คนละข้าง
และเมื่อเห็นคำว่าสายกลาง
ก็มักจะเลือกให้อยู่ระหว่างทางที่สุดโต่งสองข้าง
ไม่เป็นไปข้างใดข้างหนึ่ง เกิดเป็นทางสายที่สามขึ้น
แต่แท้ท่ีจริง พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้มีทางสายที่สาม
สายกลาง เป็นเพียงสภาวะที่ไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆ
เป็นเพียงสภาวะที่เกิดขึ้นตามเหตุและปัจจัย |
|
สัจจะแห่งชีวิต
อ.สุภีร์ ทุมทอง
ชีวิตเรานี้ประกอบด้วยอะไร.... ???
รูปนาม ขันธ์ห้า
ล้วนแล้วแต่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ มากมาย
มาประชุมรวมกันเกิดเป็นสิ่งที่เราสมมุติเรียกชื่อแตกต่างกันไป
เมื่อเราแยกส่วนประกอบเหล่านั้นออกจากกัน
ชีวิต... ก็ ไม่มีอะไรเลย
วงจรแห่งชีวิต วงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท |
|
ธัมมานุวัตต์และศาสนวิถี
สามเณรประมัย
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ได้เคยกล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ว่า....
" เคยได้อ่านหนังสือธัมมานุวัตต์ของสามเณรประมัยแล้ว
และอาตมาถือว่าเป็นหลักการปฏิบัติ
ใช้เป็นหลักวิชาการปฏิบัติที่ทันสมัยที่สุด
สำหรับหนังสือเล่มนี้ เป็นที่ปรึกษาได้เป็นอย่างดี.... "
" การปฏิบัติตามแนวพระพุทธศาสนานั้น
ต้องปฏิบัติตามลำดับ จากง่ายไปหายาก
จากหยาบไปหาละเอียด
จากสามัญ ไปสู่ความสุขุมลุ่มลึก
จากโลกียธรรม ไปสู่โลกุตตระธรรม
หนังสือ ธัมมานุวัตต์ นี้ก็เช่นกัน... "
นี่คือคำนิยม โดยท่าน ว.วชิระเมธี
อย่าเพิ่งเชื่อ เพียงเพราะเป็นคำสอนจากครูบาอาจารย์ที่เราเคารพ....
ลองมาค้นหาคำตอบดูว่า....
สามเณรประมัย กาฬเนตร เป็นใคร ???
ทำไมท่านจึงมีความสามารถเขียนหนังสือแนะนำการปฏิบัติ
จนครูบาอาจารย์หลายๆท่านแนะนำให้อ่านเป็นครูแนะแนวการปฏิบัติ
หนังสือเล่มนี้ เป็นธรรมทานเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
ไม่ได้จัดพิมพ์โดยชมรมกัลยาณธรรม
หากใครสนใจ สามารถดาวน์โหลดไปอ่านกันได้ |
|
เป็นมิตรกับความเหงา
พระไพศาล วิสาโล
ในความเหงา.... คนเรามักจะเกิดการปรุงแต่งต่างๆ มากมาย
ทำให้เกิดความคิดฟุ้งซ่านได้ง่าย
ทั้งความเศร้า... ความกลัว....
ยิ่งไม่มีใครให้คุยให้ปรึกษา...
เราก็ยิ่งฟุ้งซ่านคิดเรื่องราวต่างๆไปได้มาก
พระอาจารย์ไพศาล จึงได้สอนให้เรารู้จักกับความเหงา
รู้จักที่จะเป็นมิตรกับมัน
เรียนรู้ที่จะอยู่กับความเหงา....
แล้วคุณล่ะ ตอนนี้เหงาอยู่หรือเปล่า... ???? |
|
อัตตชีวประวัติ อ.วศิน อินทสระ
อ.วศิน อินทสระ ปราชญ์แห่งวงการพุทธศาสนาอีกท่านหนึ่ง
ท่านเป็นเสมือน เพชรน้ำเอก แห่งวงการพุทธศาสนา
ในชีวิตท่านมีคำบรรยายออกมามากมาย
รวมทั้งหนังสือธรรมะต่างๆ ที่ได้อธิบายเกี่ยวกับหลักธรรม
ให้เราท่านทั้งหลายได้เข้าใจง่ายขึ้น
การศึกษาชีวิตของครูบาอาจารย์เป็นอีกทางหนึ่ง
ที่เราจะได้เข้าใจแนวทางการใช้ชีวิต และหลักธรรมต่างๆ
ที่ครูบาอาจารย์ท่านได้ปฏิบัติมา |
|
คุณของพระสารีบุตร
อ.วศิน อินทสระ
พระสารีบุตร อัตรสาวกเบี้ยงขวา ของพระพุทธเจ้า
แม่ทัพธรรม ผู้ที่สามารถหมุนกงล้อแห่งธรรม ได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า
ผู้ที่สามารถแสดงธรรมให้กระจ่างแจ้ง เกือบเสมอเหมือน พระพุทธเจ้า
ผู้ที่พระพุทธองค์ไว้วางพระทัย ให้เผยแผ่ธรรมแทนพระองค์
ผู้ที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่า มีปัญญามาก มีปัญญาเฉียบคม
มีปัญญาไว.....
จากคุณงามความดีของพระสารีบุตร
เรายังได้เรียนรู้หลักธรรมบางประการจากชีวิตของท่านอีกด้วย
อีกหนึ่งผลงานของท่าน อ.วศิน อินทสระ |
|
ชีวิตสมดุล
พระไพศาล วิสาโล
หนังสือเล่มนี้ มีที่มาจากการเรียบเรียงคำบรรยายของ
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ในงานบรรยายธรรม ครั้งที่ ๒๐
เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔
ซึ่งนอกจากจะได้จัดทำ ดีวีดี ออกมาแล้ว ทางชมรมยังได้เรียบเรียงเป็นหนังสือ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ทุกๆท่านด้วย
ชีวิตของคนเรา มักจะมีความเกี่ยวพันกับเรื่องต่างๆ เป็นคู่
ซึ่งดูเหมือนจะตรงข้ามกัน แต่ก็ต้องมีคู่กัน ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้
เช่น ศรัทธากับปัญญา วิริยะกับสมาธิ ชีิวิตภายในกับภายนอก
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เราจะต้องปรับให้สมดุลกัน ปรับให้เหมาะกับแต่ละบุคคล ซึ่งนั่นก็คือ การใช้หลักทางสายกลางนั่นเอง
แม้แต่การปฏิบัติธรรม เราก็ยังต้องใช้ทางสายกลาง มาปรับสมดุลให้กับการปฏิบัติธรรมของเราเช่นกัน
พระอาจารย์ไพศาล ไม่ได้กล่าวถึงความสมดุลของชีวิต เพียงแค่ในด้านธรรมะ หรือ การปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่ท่านยังได้กล่าวถึงการปรับสมดุล ให้กับการใช้ชีวิตประจำวันของเราด้วย
มนุษย์เราก้าวคล่องเพราะสองขา.....
ถ้าไม่มีสมดุล เราก็ล้มได้เหมือนกัน
ลองมาอ่านดูสิว่าเรามีสมดุลในชีวิตเพียงพอแล้วหรือยัง ???? |
|
เรียนธรรมจากคำถาม
อ.วศิน อินทสระ
เป็นหนังสือที่รวบรวม และคัดกรองคำถามที่มีผู้ส่งมาถาม
อ.วศิน อินทสระ แล้วท่านอาจารย์และลูกศิษย์ ได้รวบรวมและคัดกรองเอาเฉพาะคำถามยอดนิยม ในบางคำถาม เราก็จะได้ทำความเข้าใจในธรรมะที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า อันจะก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิแก่เราเอง อีกทั้งเรายังจะได้ข้อคิดดีๆ ในการดำเนินชีวิตของเราต่อไป
ซึ่งหนังสือนี้ ได้เคยพิมพ์มาแล้วสองครั้ง ในชื่อต่างกัน คือ " ๑๐๘ คำถามกับ อ.วศิน อินทสระ " และ " ธรรมะระเบียงแก้ว " ในครั้งนี้ ทางชมรมกัลยาณธรรม ได้ขออนุญาตจัดพิมพ์ ใหม่ ในชื่อ " เรียนธรรมจากคำถาม " เพื่อเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้อ่่านกันได้มากขึ้น |
คุณสมบัติของผู้มุ่งสันตบท
อ.วศิน อินทสระ
สาระสำคัญในพระพุทธศาสนา
พุทฺธสาวโกภิกขุ
แสงธรรมส่องชีวิต
พอจ.สมชาติ ธมฺมโชโต
ทศบารมี
ดร.สนอง วรอุไร
พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อ.วศิน อินทสระ
บุพพนิมิตแห่งอริยมรรค
อ.สุภีร์ ทุมทอง
กลัวเกิด ไม่กลัวตาย
อ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
กฎเกณฑ์กรรม
อ.สุภีร์ ทุมทอง
ลำธารริมลานธรรม
พระไพศาล วิสาโล
ชีวิตที่จิตใฝ่หา
พระไพศาล วิสาโล
ได้เวลาชำระจิตชำรุด
ปันยา