คำถาม-คำตอบ ข้อ 2201-2250 |
2250. คำตอบ การประพฤติ สังฆาทิเสส หรือนำเงินไปเล่นการพนัน มิได้ถือเป็นอาบัติปาราชิก แต่อาบัติดังกล่าวจะพ้นไปได้ด้วยการเข้าปริวาสกรรม คนบ้ามีกำลังสติอ่อน จึงรับสิ่งกระทบรอบด้านมาปรุงเป็นอารมณ์ ที่ผิดเพี้ยนไปจากอารมณ์ของคนปกติ จึงเรียกว่าเป็นคนบ้า คนที่ประสงค์จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือประสงค์เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ ( ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ) ให้ครบถ้วนทั้งสามระดับคือ บารมีธรรมดา อุปบารมี และปรมัตถบารมี จึงต้องใช้เวลาอบรมสั่งสมบารมียาวนานนับหลายแสนอสงไขยแสนกัป และต้องไปเกิดเป็นสัตว์อยู่ในภพภูมิต่างๆของวัฏสงสาร ผู้ทำเหตุได้ถูกตรงครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว จึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า |
2249. คำตอบ |
2248. |
2247. เรียน ท่านอาจารย์ ดร.สนอง ที่เคารพอย่างสูง หนูมีข้อสงสัยต้องการสอบถามท่านอาจารย์ ดังนี้ค่ะ โดยธรรมชาติจิตของหนูนั้นเป็นจิตที่ชอบคิดมาก หรือชอบทำงานทางใจ มักจะไม่ค่อยอยู่นิ่งสักเท่าไรนัก จะนิ่งก็เฉพาะช่วงที่ทำสมถะเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ประมาณหนึ่งอาทิตย์ที่ผ่านมานี้ จิตของหนูมีอาการแปลกไปจากเดิม คือ จิตจะนิ่งได้เร็วและแม้กระทั่งยังไม่ทันได้ทำสมถะก็เกิดนิ่งแล้ว หรือเมื่อคิดเรื่องราวต่างๆ ที่จากเดิมเคยคิดแล้วเกิดความวุ่นวายขึ้นในจิต แต่ ณ เวลานี้เมื่อคิดแล้วจิตจะกลับมาอยู่ที่ตัว ไม่ออกนอกไปตามเรื่องราวต่างๆเหมือนครั้งที่ผ่านมา เป็นเช่นนี้ประมาณอาทิตย์หนึ่ง ปัญหาที่ต้องการให้ท่านอาจารย์ช่วยกรุณาตอบ คือ ตอนนี้หนูรู้สึกว่ามันไม่มีอะไรให้คิด หรือมันไม่มีการทำงานทางจิตเหมือนเมื่อก่อนหน้า แล้วมันทำให้หนูเกิดอาการเบื่อ บางครั้งก็เฉยๆ หนูจึงอยากเรียนถามท่านอาจารย์ว่า หนูควรจะทำอย่างไรต่อไปดีคะ คือ วิธีที่ใช้อยู่ตอนนี้ คือ เบื่อก็รู้ว่าเบื่อ ก็ดูมันไป เฉยก็รู้ ก็ดูมันไป ( แต่ว่าด้วยความที่ตัวเองน่าจะมีนิสัยประมาณถ้าไม่คิดแล้วมันรู้สึกว่าไม่มีอะไรให้จิตทำงาน ก็เลยทำตัวไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี เมื่อจิตมันไม่ทำงานอย่างที่เคยเป็น) จึงใคร่ขอความกรุณาท่านอาจารย์เมตตาช่วยตอบข้อคำถามของหนูด้วยนะคะ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ คำตอบ ดังนั้นในกรณีนี้ พึงพิจารณาความเบื่อด้วยจิต จนกระทั่งเห็นว่า ความเบื่อดำเนินไปตามกฏไตรลักษณ์ เมื่อความเบื่อเข้าสู่ความเป็นอนัตตา จิตจะไม่เบื่อหน่ายอีกต่อไป |
2246. ถ้าเราโดนใส่ร้าย ยัดเยียดข้อหา แล้วโดนจับขัง แต่เรารู้ตัวดีว่าไม่ได้ทำสิ่งที่คนเหล่านั้นยัดเยียดให้ คำตอบ |
2245. กราบเรียน อ.สนอง วรอุไร ที่เคารพอย่างสูง กระผมมีเรื่องสงสัยอยากจะขอคำแนะนำจาก ท่านอาจารย์ 1. เมื่อก่อนกระผมสวดมนต์ก่อนนอนไม่ค่อยได้ครับ เพราะว่าเวลาสวดมนต์จะรู้สึกว่า เริ่มตัวร้อนและเหงื่อจะไหลออกมาตามแขนและลำตัว แม้แต่ขณะที่อาบน้ำมาใหม่แล้ว เริ่มสวดมนต์ก็เป็นเปิดพัดลมใส่ก็เป็นเหมือนกันครับ แต่ตอนเช้าไม่เป็นและเดียวนี้ไม่เป็นแล้วครับ กระผมเคยบอกตัวเองว่าให้เหงื่อมันไหลไปยังไงก็จะไม่เลิกสวดมนต์ กระผมอยากทราบว่านี้มันเป็นอาการของอะไรครับ (กระผมสวดมนต์ตามคำแนะนำของหลวงพ่อจรัญ ) 2. กระผมขออนุญาตินำธรรมบรรยายของท่านอาจารย์ นำไปไรล์ลง ซีดีเพื่อฟังเองและให้กับบุคคลที่สนใจ ด้วยความเคารพอย่างสูง คำตอบ (๒) อนุญาตครับ |
2244. คำตอบ ตอบว่าไม่ทราบ เพราะไม่มีประสบการณ์ ตามความรู้ เห็น เข้าใจของผู้ที่ทรงไว้ซึ่งสัพพัญญุตญาณ ( พระพุทธเจ้า ) ที่ตรัสกับพระเจ้ามหานามะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ในครั้งพุทธกาลในทำนองที่ว่า พระพุทธโคตมะ : ดูกร มหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งตลอดกาลนาน และเป็นผู้ที่ไม่มีปัญญาเฉียบแหลม ไม่ประกอบด้วยเจโตวิมุตติ แต่มีจิตพ้นไปจากสังโยชน์ ๓ ( สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ) ถึงพระอริยบุคคลโสดาบัน ตายแล้วย่อมไม่นำพาชีวิต ลงไปเกิดเป็นสัตว์อยู่ในอบายภูมิ ( ปิดอบายภูมิ ) เจ้าสรกานีศากยราช แม้เสวยน้ำจัณฑ์ ( เหล้า ) เป็นปกติ แต่เวลาใกล้ตาย มีจิตพ้นไปจากสังโยชน์ ๓ เราตถาคตจึงพยากรณ์เช่นนั้น |
2243. กราบเรียน อ.สนอง วรอุไร ที่เคารพอย่างสูง ผมขออนุญาตเรียนถามและขอคำชี้แนะจากอาจารย์ดังนี้ครับ ผมเจริญภาวนาโดยใช้อานาปาณสติ และใช้ คำว่าพุทโธ กำกับเมื่อนั่งไปสักพักก็เกิดอาการค้น ผมค้นหาคำตอบที่อาจารย์เคยตอบมาแล้วว่า ให้กำหนดว่า คันหนอๆๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการคันจะหายไป คำถามคือว่า การกำหนดคันหนอ คือการเอาจิตที่จดจ่อกับลมหายใจไปรับรู้อาการคัน แล้วเปลี่ยนคำบริกรรมจากพุทโธ มาเป็น คันหนอ จนกว่าอาการจะหายไป หรือว่าตามดูลมหายใจต่อ แต่เปลี่ยนคำบริกรรมมาเป็น คันหนอ ครับ กราบขอบพระคุณอาจารย์ครับ และหากผมได้ทำการล่วงเกินอันใดต่ออาจารย์ ไม่ว่าทางกาย วาจา ใจ ตั้งใจหรือไม่ก็ตาม กราบขออโหสิกรรมจากอาจารย์ด้วยครับ คำตอบ |
2242. เรียนอาจารย์สนอง วรอุไร ที่เคารพ หนูขอถามดังนี้ค่ะ 1. หนูคำถามที่จะถามต่อไปนี้คงเป็นคำถามที่ไม่มีอะไรต่างไปจากคำถามเรื่องความรักของผู้ถามท่านอื่นๆ นอกเสียจากการกระทำเมื่อครั้งอดีต หนูคบกับผู้ชายคนหนึ่ง เดิมเราเป็นเพื่อนกันสมัยเรียนค่ะ ตอนสมัยเรียนเรายังไม่คบกันค่ะ แต่ช่วงนั้นหนูกลับรู้สึกดีกับเขามาก เพราะเห็นว่าเขาเปนคนวางตัวดีและจิตใจดี แต่พอเรียนจบเราก็คบกัน จากนั้นก็มีปัญหากันเรื่อยมา และรุนแรงขึ้นทุกวัน ถึงขั้นลงไม้ลงมือจนกระทั่งเกือบฆ่ากันก็มี เดิมเค้าเหมือนเปนคนดีมากๆ เลยนะคะ แต่หลังๆ เค้าจะติดเรื่องกามราคะมากผิดปกติจึงทำให้ทะเลาะกัน และทุกครั้งหนูก็เสียใจอย่างมาก แต่ก็หายโกรธเค้าเร็ว จนเขาได้ใจ ขณะนี้หนูตัดสินใจแยกทางกัน แต่ก็แอบกลัวว่าตัวเองจะใจอ่อนอีกเมื่อเขามาทำดีและขอโทษ จึงอยากทราบว่า หนูเคยทำกรรมใดไว้กับเขาหรือใครจึงมีกรรมแบบนี้ต่อกัน และกรรมระหว่างหนูกับเขาหมดกันหรือยังค่ะ หากต้องการหมดเวรกรรมต่อกันหนูจะต้องทำอย่างไร และเค้ามีบุญจะได้บวชตลอดชีวิตหรือไม่ หนูสามารถเปนส่วนหนึ่งในการช่วยให้เขากลับมาดีได้หรือไม่ค่ะ หนูกราบขอความเมตตา กรุณาจากอาจารย์ ช่วยชี้นำแนวทางด้วยนะคะ หากพอมีหนทางแก้ไข 2. ครอบครัวหนูตกต่ำลงเรื่อยๆ มีทางแก้ไข หรือปฏิบัติหรือไม่ค่ะ สงสารครอบครัวมากๆ ค่ะ 3. หนูมีใจอยากปฏิบัติธรรมะสายพระป่า หนูยังมีบุญพอที่จะมีโอกาสเข้าถึงสมาธิที่แท้จริงได้บ้างไหมค่ะ 4. หนูแนะนำเพื่อนคนหนึ่งไปบวชเพื่อปฏิบัติธรรมที่ วัดป่ามัชฌิมาวาส จ. กาฬสินธุ์ ประมาณ 3 เดือน โดยหนูก็ดีใจมากที่เพื่อนจะได้ไปอยู่กับคพระผู้ปฏิบัติดี แต่หนูก็เปนทุกใจอยู่เนื่องจาก เพื่อนทานเจ แต่ที่วัดไม่มีเจ และที่วัดก็มีการทำงานภายนอกมากหน่อย เลยเกรงว่าเพื่อนจะไม่ได้ปฏิบัติมากอย่างที่ตั้งงใจไว้ ก็เลยกังวลและขอโทษเพื่อนอยู่บ่อยๆ กรณีนี้หนูจะบาปไหมค่ะที่ทำให้เพื่อนไม่สะดวกดังข้างต้นที่กล่าว ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงค่ะ ที่กรุณามีเมตตาและตอบคำถามของคนกิเลสหนา ขอบคุณค่ะ คำตอบ (๒) ทุกคนในครอบครัวต้องมีศีล ๕ คุมใจ และมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีอุปการคุณ เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ แผ่นดินเกิด ฯลฯ เมื่อใดทุกคนประพฤติได้ถูกตรงตามนี้ ความเจริญของครอบครัวจึงจะเกิดขึ้นได้ (๓) บุญบารมี เป็นปัจจัยที่บุคคลได้กระทำและเก็บสั่งสมมาแต่อดีต หากปัจจุบันทำเหตุให้ถูกตรง คือ เอาศีล ๕ คุมใจ ประพฤติตนให้มีสัจจะ และเร่งความเพียรในการปฏิบัติธรรม ( สมถภาวนา ) จิตย่อมมีโอกาสตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ (๔) บาปให้ผลเป็นความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หากเกิดขึ้นกับผู้ใด เรียกได้ว่าผู้นั้นมีบาปให้ผล อนึ่ง การทำงานหากบุคคลมีสติอยู่กับงานที่ทำ ถือได้ว่าการทำงานคือการปฏิบัติธรรม ส่วนเรื่องการบริโภคอาหารเจ มิได้เป็นเหตุแท้จริงให้บุคคลเข้าถึงธรรม ผู้บริโภคเนื้อสัตว์ ยังสามารถบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้ เว้นไว้แต่ว่าการบริโภคเนื้อสัตว์นั้นต้องถูกตรงตามธรรมวินัย |
2241. กราบสวัสดี อาจารย์ สนอง ที่เคารพอย่างสูงค่ะ ดิฉันเริ่มปฏิบัติธรรมเดินจงกรม นั่งสมาธิ ทุกวันอย่างน้อยวันละ ๑ ชม มาได้ ๙ เดือนแล้วค่ะ เมื่อทำไปเรื่อยๆ เกิดความรู้สึกขี้นมาว่า จะพยายามทำ ทาน ศีล และ ภาวนาให้ได้ดีที่สุด มีข้อสงสัยเมื่อฟังเรื่องมหาทานค่ะ ที่อาจารย์บอกว่า การทำบุญเลี้ยงพระทั้งวัดเป็นเวลา ๗ วันเป็นมหาทาน อานิสงส์มาก อยากทราบว่า ๑ ต้องเลี้ยงพระ ๗ วันรวดเลยหรือเปล่า หรือ ถ้าเรามีวัดหยุด เสาร์ อาทิตย์ เราค่อยๆ ทยอย ทำทีละวัด ไปจนครบ ๗ วัดแต่อาจใช้เวลา ๒ เดือน หรือไม่คะ ๒ เข้าใจว่าบุญที่สูงสุดจริงๆคือ วิปัสสนาถูกต้องไหมคะ ๓ แต่ก็มีกรณีในสมัยพุทธกาลซึ่งมีเจ้าหญิงองค์นึงเป็นโรคผิวหนังรักษาไม่หาย ท่านเลยเลี้ยงพระทั้งวัดติดต่อกัน จนหายดี ในกรณีนี้ ถ้าเปลี่ยนเป็น เจริญ สมถะ หรือวิปัสสนาติดต่อกัน จะได้ผลเหมือนกันหรือเปล่าคะ อยากให้อาจารย์ อธิบายเรื่ืองมหาทานด้วยค่ะ คำตอบ เหตุตรงของพระอนุรุทธะ ผู้มีตาทิพย์ คือ ก. ได้ถวายประทีปบูชา พระเจดีย์ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ข. ถวายประทีปเป็นพุทธบูชาแด่พระสุเมธพุทธเจ้า ค. ให้ถาดใส่เนยใสจุดไฟสว่างถวายพระกัสสปพุทธเจ้า ด้วยเหตุสามอย่างนี้ เมื่อเกิดมาในครั้งพุทธกาล จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพุทธสาวกผู้มีตาทิพย์ คำว่า มหาทาน หมายถึง การบริจาคทานอันยิ่งใหญ่ จึงมีปัญหาว่า ทานอันยิ่งใหญ่ของใคร - พระพุทธสาวกและพระพุทธสาวิกาของพระพุทธโคดม เชื่อว่าการถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้าและสงฆ์สาวก ๗ วันติดต่อกันเป็นมหาทาน เพราะสามารถเข้าถึงธรรมและมีความเป็นผู้ยอดเยี่ยม ( เอตทัคคะ ) ได้ - พรหม เชื่อว่า การให้อภัยเป็นทาน ทำให้จิตตั้งมั่นระดับฌาน จึงเชื่อว่าการให้อภัยเป็นทาน จัดว่าเป็นมหาทาน เพราะสามารถผลักดันจิตวิญญาณเข้าสู่พรหมโลกได้ - เทวดา เชื่อว่า การประพฤติกุศลกรรมบถ ๑๐ อยู่เนืองนิตย์ จัดว่าเป็นมหาทาน เพราะสามารถผลักดันจิตวิญญาณเข้าสู่เทวโลกได้ - มนุษย์ เชื่อว่า การประพฤติศีล ๕ จนมีศีล ๕ คุมใจอยู่ทุกขณะตื่น จัดว่าเป็นมหาทาน เพราะสามารถผลักดันจิตวิญญาณเข้าสู่มนุสฺสโลกได้ ฉะนั้น พึงพิจารณาดูด้วยตัวเองเถิดว่า พฤติกรรมใดเป็นมหาทาน พฤติกรรมใดมิได้เป็นมหาทาน แล้วเลือกประพฤติตามที่ชอบเถิด |
2240. กราบเรียน อ.สนอง วรอุไร ที่เคารพอย่างสูง กระผมขออนุญาตเรียนถามอาจารย์ดังนี้ครับ 1. กระผมต้องการสถานที่ปฏิบัติกรรมฐานที่มีคนน้อย ๆ หรือไม่พลุกพล่าน หรือเป็นส่วนตัว 2. มีครูบาอาจารย์ที่สอนกรรมฐานถูกต้องตามธรรม 3. การปฏิบัติธรรมควรใช้เวลาอย่างน้อยกี่วัน ในกรณีที่เราไปปฏิบัติ ณ สถานที่ที่ปฏิบัติโดยตรง (ถ้าไม่นับว่าเราสามารถทำได้ที่บ้านหรือทุกที่ที่เราใช้ชีวิตประจำวัน) เนื่องจากกระผมไม่เคยไปรับกรรมฐานมาก่อนครับ 4. กระผมวางแผนไว้ประมาณเดือนตุลาคม ปีนี้ ว่าอยากไปปฏิบัติกรรมฐานอย่างเต็มที่ครับ ขอบพระคุณอาจารย์ สนอง วรอุไร ที่เมตตากระผมครับ คำตอบ (๒) หากผู้ถามปัญหาประสงค์จะปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์ผู้สอนกรรมฐานที่ถูกต้องตามธรรม ต้องนำตัวเองไปเป็นศิษย์ของหลวงพ่อธี ที่ถ้ำวัวอนัตตาราม ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ (๓) เวลามิใช่เป็นเครื่องกำหนดการเข้าถึงธรรม แต่เหตุปัจจัยเท่านั้นเป็นตัวกำหนด เหตุคือต้องปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เช่น เอาศีลคุมใจให้ได้ก่อน ใจจึงจะตั้งมั่นเป็นสมาธิ ใจที่เป็นสมาธิในระดับที่สมควร จึงจะมีโอกาสเกิดปัญญาเห็นแจ้งได้ เมื่อใช้จิตที่ตั้งมั่นสมควรแล้ว ไปพิจารณาผัสสะว่าดำเนินไปตามกฎไตรลักษณ์ ทั้งนี้มีศีล มีสัจจะ มีความเพียรเป็นแรงสนับสนุน ส่วนปัจจัยคือต้องมีบุญบารมีเก่าสนับสนุน ดวงตาเห็นธรรมจึงจะเกิดขึ้นได้ ดูตัวอย่างการเข้าถึงธรรมของผู้ตอบปัญหาจากหนังสือทางสายเอกที่เขียนบอกไว้ การปฏิบัติธรรมเริ่มแรก ควรไปรับกรรมฐานจากครูบาอาจารย์ก่อน แล้วจึงนำมาทำต่อที่บ้านได้ (๔) สาธุ |
2239. กราบเรียนท่านอาจารย์ดร.สนอง วรอุไรที่เคารพ กระผมขอเรียนถามว่า ๑ ถ้าต้องการฝืนร่างกายให้นอนน้อยเพื่อทำงานหรือปฎิบัติธรรมมีแนวทางปฎิบัติอย่างไรครับ เพราะบางครั้งกระผมฝืนแล้วเกิดอาการหวิวๆบ้าง สมองตื้อๆบ้าง บางครั้งคิดไม่ออก บางครั้งถึงกับมืนหัวครับ ทานอาหารไม่ค่อยได้ ง่วงเป็นธรรมดาครับ ๒ จากการฝืนดังกล่าวตามข้อ๑ กระผมทานกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลังเช่นกระทิงแดงถูกต้องไหมครับ (ผมคิดว่าสติผมอ่อนเลยหาตัวช่วย แต่คิดว่ามันน่าจะทำลายสุขภาพครับ) ๓ บางครั้งผมหายใจเข้ายาวๆแล้วเกิดอาการเหมือนไม่หายใจหรือหายใจเบามาก และรู้สึกว่าศีรษะกับตัวโยกไปโยกมาครับ (เป็นอาการเหมือนตอนนั่งทำสมาธิแต่ผมอยู่ในอริยาบทปรกติครับ) ไม่ทราบว่ามันคืออาการอะไรครับ ทำบ่อยๆดีไหมครับ ๔ ตอนนี้ผมทำงานบริษัทไม่ค่อยมีวันหยุด ทำงานหนักมากเลิกงานดึกเกือบทุกวัน มีแต่ความกดดัน ผมขอคำแนะนำจากท่านอาจารย์ด้วยครับ ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงและอนุโมทนากับท่านอาจารย์ด้วยครับ ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง เทิดศักดิ์ คำตอบ (๒) ถูกต้องทางโลก (๓) เหตุเป็นเพราะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิขั้นต้น ( ขณิกสมาธิ ) อาการตัวโยกไปมาจึงเกิดขึ้น ฉะนั้นพึงกำจัดต้นเหตุด้วยการกำหนดว่า โยกหนอๆๆๆๆ ไปเรื่อยๆจนกว่า อาการตัวโยกจะดับไป แล้วดึงจิตกลับมาสู่องค์บริกรรมเดิมที่ทำอยู่ วิธีนี้เป็นการเพิ่มกำลังของสติให้มากขึ้น ดังนั้นผู้รู้จึงแนะนำให้กำหนดทุกครั้งที่มีอาการเช่นนี้เกิดขึ้น (๔) วิธีแก้ปัญหาที่บอกเล่าไป ต้องทำงานด้วยใจ และต้องใช้วิธีการอันเลิศโดยไม่หวังผลเลิศ ทำได้เมื่อใด ปัญหาหมดไปเมื่อนั้น จะพิสูจน์ไหมครับ |
2238. กราบสวัสดีอาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร ช่วงฟุตบอลยูโร 2012 ผมนอนดึก แล้วตื่นสายเนื่องจากกลัวจะไปทำงานช้า ผมเลยไม่ทานข้าวเช้า จนวันหนึ่งผมปวดท้องหนักจนหน้ามืดเป็นลม จนเพื่อนต้องพยุงตัวไปที่โรงพยาบาล หมอก็ให้นอนบนเตียง แต่อาการปวดท้องก็ยังไม่หาย ผมรู้สึกทรมานมาก พอดีผมมีพื้นฐานการฝึกกรรมฐานมาก่อนที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อจรัญ)ผมจึงเลี่ยงความเจ็บปวดด้วยการกำหนดรู้ไปที่บริเวณที่ปวด จนหัวใจเต้นช้าลง ลมหายใจละเอียดขึ้นจนบางครั้งไม่มีลมหายใจ แล้วระดับความปวดก็จางลงไปจนอยู่ในระดับที่ผมนอนบนเตียงได้อย่างสบาย แต่แท้ที่จริงแล้วความปวดทรมานไม่ได้หายไปไหน เพราะพอผมคลายสมาธิออกก็ยังปวดอยู่เหมือนเดิมครับ ถามว่า - การที่ผมใช้ สมถกรรมฐานกดความปวดไว้อย่างนี้จะเกิดปัญญาเห็นแจ้งได้ไหมครับ - ถ้าไม่ได้แสดงว่าผมต้องรับความปวดนั้นไว้ในสภาวะปกติตลอดเลยหรือครับ - ถ้าถึงวาระที่ผมต้องตาย แล้วผมใช้วิธีการกำหนดความเจ็บปวดทรมานลงลึกเข้าไปเรื่อย ๆจนจิตผมหลุดออกจากร่างแล้วผมจะไปไหนต่อครับ ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาบุญกับท่านอาจารย์ด้วยครับ คำตอบ |
2237. สวัสดีครับ อาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร ผมมีปัญหารบกวนถามอาจารย์ ดังนี้ครับ เมื่อไม่กี่วันมานี้ ช่วงเวลาทุ่มกว่าๆ ผมขับมอร์เตอร์ไซไปซี้อเจลลดไข้ให้ลูก ในขณะที่ขับอยู่ ช่วงขณะจิตก็รู้สึกว่า ตัวเราเมื่อกี้นี้กับตอนนี้ไม่ได้เป็นคนๆเีดียวกัน คืออยู่ดีๆมันก็รู้สึกขึ้นมาเองหนะครับ ความรู้สึกคือ อนาคตมันก็ไม่มี อดีตมันก็ไม่มีหนิ มีแต่ปัจจุบันล้วนๆ เราเมื่อห้านาทีที่แล้ว กับเราตอนนี้มันไม่ได้เป็นคนๆเดียวกันหนิ มันมีแต่ปัจจุบัน แม้คิดเรื่องงานที่ค้องทำในวันพรุ่งนี้ มันก็มีแต่ปัจจุบัน คือรู้ว่าพรุ่งนี้มีงาน แต่รู้แค่ปัจจุบัน มันไม่ได้รู้สึกถึงพรุ่งนี้หนะครับ ในขณะที่จิตรู้สึกแบบนี้อยู่ ใจรู้สึกสบาย โปร่ง รู้ทุกกริยาบทที่กายดำเนินไป จะก้าวก็มีปัุจจุบัน จะพูดก็มีแต่ปัจจุบัน ในขณะที่เช็ดตัวให้ลูกมันก็มีแต่ปัจจุบัน มันมีแต่ความสุขในใจ แล้วก็มาพิจารณาต่อว่า เวลามันก็ไม่มีอยู่จริงหนิ มีแต่ปัจจุบันที่ดำเนินไป รู้สึกแบบนี้อยู่นานพอสมควร จนลูกนอน ผมก็ลงมาพิจารณาต่อ ดูการก้าวเดินของเราว่า ในขณะเดิน ในขณะย่างก้าว มันไม่มีก้าวที่แล้วเลย มันมีแต่เท้าที่เคลื่อนอยู่ มันมีแต่ตอนนี้ มีแต่เีดี๋ยวนี้ ไม่มีเมื่อกี่แล้ว แต่มันไม่รู้สึกถึงการเกิดดับคือไม่เห็นการเกิดดับหนะครับ จนสักพักก็เลิกพิจารณามาดูที่วีรายการที่ชอบ ดูจนจบ ก็อาบน้ำสวดมนต์ไหว้พระ แต่ตอนนั่งสมาธิเนี้ยซิครับ ความรู้สึกแต่ปัจจุบันมันหายไปหมดเลย มันหายไปตอนไหนก็ไม่รู้ จะทำให้รู้สึกแบบให้มีแต่ปัจจุบันไม่ได้แล้ว เพราะตอนรู้สึกว่ามีแต่ปัจจุบันมันเกิดขึ้นเองครับ ไม่ได้ทำให้มันรู้สึก นั่งสมาธิก็ไม่ได้ จิตมันฟุ้งไปหมด เลยยอมแพ้ เข้านอน ปรกติเวลานอนก็กำหนดพุธโทตลอด แต่คืนเกิดเหตุกำหนดไม่ได้ด้วยมันยังฟุ้งอยู่ ก็ปล่อยให้หลับไปเลยโดยไม่ได้กำหนดหนะครับ คำถามคือ: ในขณะที่จิตรู้สึก ที่มีแต่ปัจจุบันโดยที่มันเกิดขึ้นเอง พร้อมกับความรู้สึกสบายกาย สบายใจ ในใจมีแต่สุข มีแต่อิ่บเอิบ เป็นผลมาจากการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือเปล่าครับ แล้วถ้าเำกิดขึ้นอีกจะรักษาความรู้สึกนี้ให้ได้นานๆต้องปฏิบัติยังไงต่อครับ แต่หากเกิดจากการปฏิบัติไม่ถูกต้องควรแก้ไขอย่างไรครับ แล้วที่รู้สึกว่าเวลาไม่มีอยู่จริงมีแต่ปัจจุบันสิ่งที่ได้รู้สึกเป็นจริงหรือเปล่าึครับ รบกวนอาจารย์ด้วยนะครับ ที่เล่าและถามไปไมู่้รู้อาจารย์จะเข้าใจหรือเปล่า คือผมไมู่้รู้จะอธิบายยังไงให้อาจารย์เข้าใจในสิ่งที่ผมรู้สึกครับ เป็นกังวลครับ ใจหนึ่งก็อยากถาม แต่อีกใจก็ไม่อยากถามเพราะกลัวว่ารู้คำตอบแล้วใจมันจะทิ้งปัญหานี้ไปเลย โดยที่ไม่ได้พิจารณาเิพิ่มเติมให้มันแจ้งด้วยใจ แต่ถ้าไม่ถามก็กลัวจะติดอยู่กับความรู้สึกนั้น ถ้าอาจารย์คิดว่าเป็นประโยชน์ที่จะตอบเพื่อคนอื่นๆที่เข้ามาอ่านก็ตอบนะครับ แต่ถ้าคิดว่าไม่ตอบแล้วแนะนำแนวทางในการพิจารณาก็แล้วแต่ความกรุณาของอาจารย์นะครับ ผมปฏิบัติมาตั้งแต่อายุ 20 ปี จนเดี๋ยวนี้ก็ 35 ปี สิบกว่าปีมานี้ก็ปฏิบัติบ้าง ไม่ปฏิบัติบ้าง ช่วงที่ปฏิบัติก็เพราะได้อ่านหนังสือธรรมะแล้วเกิดกำลังใจแล้วก็ปฏิบัติอยู่ก็เป็นปี หลังจากนั้นก็เบื่อเหมือนหมดกำลังใจ แล้วก็ไม่ปฏิบัติ ก็นานเลยครับ จนได้ไปเจอไปอ่านหนังสือธรรมะอีก เกิดกำลังใจอีกก็ปฏิบัติอีก เป็นอย่างนี้ซ้ำไปซ้ำมาตลอด แต่ไม่เคยพิจารณาในการปฏิบัติเลย จนกระทั่งได้ฟังการบรรยายของอาจารย์เนี้ยแหละครับ จึงมีำกำลังใจที่จะปฏิบัติให้ถูกทาง ได้ฟังเทศน์ของท่านเจ้าคุณโชดก เรื่องเทศน์ลำดับญาน แล้วก็ของพระอีกหลายรูป ที่ได้มีการโพสไว้ใน ยูธูป จนถึงตอนนี้ก็เริ่มจะรู้สึกเบื่ออีกแล้ว ไปปฏิบัติธรรมที่ วัดถ้ำสุมโน ก็รู้สึกวุ่นวายกับคนหมู่มาก อยากอยู่ที่เงียบๆ เคยคิด เห็นภาพตัวเองอยู่ในป่า ในเขา ในถ้ำแล้วรู้สึกมีความสุข จะรู้สึกศรัทธามากกับพระป่า พระธุดงค์ เป็นความรู้สึกที่มีมาตั้งแต่จำความได้ ใจอยากบวชไปอยู่ในป่า ในเขามาก แต่ตอนนี้ยังทำไม่ได้ ต้องใช่กรรมที่สร้างมาอีกนาน แต่ก็อธิษฐานไว่ว่า ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์อีกไม่ว่าในชาติไหน ก็ขอให้ได้เกิดมาพบพุทธศาสนา และได้บวชปฏิบัติธรรมตั้งแต่เป็นเด็กๆอธิษฐานทุกครั้งที่ระลึกได้ครับ ที่อธิษฐานแบบนี้ถูกไหมครับ ถ้าไม่ถูกควรเพิ่มเติมประโยคใดอีกในคำอธิษฐานครับ ผมได้ดาวน์โหลดการบรรยายธรรมของอาจารย์ที่โพสไว้ในยูธูปมาฟังเยอะมากครับ ต้องขมา ให้อาจารย์อโหสิกรรม ยกโทษให้ด้วยนะครับ สุดท้ายนี้ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง ได้อยู่เป็นกำลังใจให้ผู้ใฝ่ในการปฏิบัติไปนานๆนะครับ ตุลย์เมธี สุวรรณพัสวี กราบขอบพระคุณอาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร อย่างสูงครับ คำตอบ อนึ่ง ความกังวล เป็นอาการที่จิตขาดสติกำกับ ต้องแก้ปัญหานี้ตามที่บอกมาข้างต้น คนที่ปฏิบัติธรรมบ้างไม่ปฏิบัติบ้าง เรียกว่าเป็นคนที่มีความประมาท จึงทำให้กิเลสครอบงำจิต ( เบื่อ ) ได้ ส่วนเรื่องการอ่านหนังสือธรรมะ จัดว่าเป็นคันถะธุระ คือสามารถรู้สิ่งต่างๆที่มีคนเขียนบอกไว้ในตำราหรือคัมภีร์ เรียกความรู้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นความจำ ( สัญญา ) แต่หากนำตนไปปฏิบัติธรรม การประพฤติเช่นนี้เป็นวิปัสสนาธุระ จิตย่อมเข้าถึงความจริงแท้ ที่สามารถปิดอบายภูมิหรือนำพาชีวิตไปสู่ความพ้นทุกข์ ฉะนั้นจะประพฤติอย่างใด จงเลือกเอาตามที่ชอบเถิด ไปอยู่ในถ้ำ แล้วรู้สึกวุ่นวายกับคนหมู่มาก ให้กำหนดว่า วุ่นวายหนอๆๆๆๆ ไปเรื่อยๆจนกว่าความวุ่นวายจะหายไปจากใจ การอธิษฐานตามที่บอกเล่าไปดีแล้ว แต่จะสมปรารถนา ต้องทำเหตุให้ตรง คือประพฤติไตรสิกขา ( ศีล สมาธิ ปัญญา ) อยู่เสมอ |
2236. กราบเรียน ท่านอาจารย์สนอง ที่เคารพ ผมมีเรื่ยงสงสัยเกี่ยวกับการสวดบทบังสกุลตายคือว่าคนที่ไม่ได้บวชเป็นพระสามารถสวดบทบังสกุลตายได้หรือไม่ แต่ไม่ได้ไปสวดในงานศพเพราะบ้างครั้งไม่ว่าผมจะทำงาน ขับรถ หรือกิจวัตรประจำวันนึกขึ้นได้ ผมจะสวดบทบังสกุลตายเป็นประจำแต่เป็นการสวดในใจ เหตุที่ผมสวดเพราะเมื่อสมัยเป็นเด็กผมเคยไปดูพี่ชายที่บวชเป็นเณรไปสวดบังสกุลตายที่ป่าช้า ก็เลยจำบทสวดนั้นได้และเป็นบทสวดแรกๆที่ผมจำฝังใจ กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ สนอง มากครับ คำตอบ |
2235. กราบเรียน ดร.สนอง วรอุไร ผมมีคำถามดังนี้ 1. อยากทราบว่าการทำบุญกับพระเพียงรูปเดียว ตั้งใจให้รูปเดียวโดยก่อนออกมาจากบ้าน ตั้งใจว่าไม่ว่าเจอกระรูปไหนจะให้รูปนั้นก่อน แบบนี้จะเป็นสังฆทานได้มั้ยครับ คำตอบ (๒) ถ้านำอาหารจากการบิณฑบาตไปแบ่งให้พระรูปอื่น ยังถือว่าเป็นปุคคลิกทาน แต่หากไปรวมไว้เป็นส่วนกลางของสงฆ์ทั้งวัดสามารถนำไปใช้ได้ อย่างนี้จึงจะเรียกว่าเป็นสังฆทาน |
2234. สวัสดีครับ ท่าน ดร สนอง ผมมีคำถามอย่างหนึ่งเป็นข้อกังขามานานแล้วครับ อยากเรียนถามว่า บุญกุศลที่เราปฏิบัติสามรถเปลี่ยนแปลงดวงชะตาราศี ได้หรือไม่ครับ ? คือผมมิได้เป็นข้าราชการแต่ฝันอยากเป็นข้าราชการจึงไปดูหมอที่ค่อนข้างมีชื่อในความแม่นยำ เขาก็บอกว่าดวงผมไม่สามารถเป็นข้าราชการได้เพราะว่าดาวบางดวงเสียอะไรทำนองนี้ ผมก็กลับมานึกกับตัวเองว่า ใครเป็นคนกำหนดชีวิตเรา ? ดวงชะตา อย่างนั้นหรือ แล้วความดีที่ผมเพียรพยายามทำมา กอปรกับบุญกุศลที่เราคิดดี ทำดี ปฏิบัติดี สามรถช่วยหนุนให้เรามีดวงชะตาชีวิตที่เปลี่ยนไปได้หรือไม่ครับ... ? คำถามจากผู้ยังรู้น้อย... คำตอบ ผู้ใดประพฤติบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ได้จนเป็นปกตินิสัย เมื่อใดที่เหตุปัจจัยถึงพร้อม ความสมปรารถนาในสิ่งที่ตนต้องการ ย่อมเข้าถึงได้ ทั้งนี้ต้องเว้นอกุศลกรรมใดๆ แล้วความสมปรารถนาย่อมเกิดได้ง่าย |
2233. กราบเรียน ท่านอาจารย์สนอง ที่เคารพ ผมมีเรื่องจะกราบเรียนถามท่านอาจารย์ ผมปฏิบัติสมาธิมานาน และเริ่มตั้งใจแน่วแน่ต่อการปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนาตั้งแต่ปี ๕๐ เมื่อตุลาคมปี ๕๓ ขณะเดือนจงกลมอยู่จิตรวมไปตั้งอยู่ที่กระหม่อม หลังจากนั้นมีความรู้สึกถึงการไม่มีกายอยู่ หลังจากนั้นเป็นต้นมา เวลาที่มีสติ จิตจะไปตั้งอยู่ที่กลางกระหม่อมทุกครั้ง จะรู้สึกเย็นวาบ ปัจจุบันในระหว่างวันก็มีอาการเช่นนี้อยู่ตลอดทั้งวัน รบกวนท่านอาจารย์แนะนำว่าจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป กราบขอบพระคุณครับ คำตอบ |
2232. คำตอบ |
2231. กราบเรียนท่านอาจารย์สนองที่เคารพเป็นอย่างสูง ผมทำสมาธิด้วยการ ภาวนา นะมะพะทะ แบบ อนุโลม ปฏิโลม จนรู้สึกว่าจิตละเอียด จดจ่อกับคำภาวนา และ คำภาวนาหายไป จิตมาจับอยู่ที่อารมณ์ ความรู้สึกภายนอกน้อยมาก เหมือนกับครึ่งหลับครึ่งตื่น แต่มีความรู้สึกตัวอยู่ ต่อจากนั้นก็ไม่รับรู้อารมณ์อะไร เลยเหมือนกับจิตดับไป สักพัก ก็กลับมารู้สึกตัวพร้อมกับดึงคำภาวนากลับมา เมื่อภาวนาไปได้สักพัก ก็เข้าสู่สภาวะเดิมอีก เป็นอย่างนี้ อยู่ 3 ครั้ง จึงถอนจากสมาธิ แล้วอุทิศบุญกุศลแล้ว ล้มตัวลงนอน (ผมนั่งสมาธิอยู่บนที่นอนครับ) รู้สึกว่าขาขวา เป็นเหน็บชา เริ่มปวดขามากขึ้น ตอนแรกจะทำเหมือนทุกครั้ง คือนอนปวดขา ไปจนกว่าจะหาย แต่นึกถึงคำสอนของ ท่านอาจารย์สนอง ว่าเมื่อเลิกทำสมาธิให้เจริญปัญญาต่อ ก็ไปเห็น จิตที่มันกระวนกระวาย ว่าขากำลังปวด แล้วก็ไปดูเวทนาเห็นความปวดเกิดขึ้น จิตเห็นว่า ขาไม่ได้ปวด แต่จิตเป็นตัวปรุงแต่งว่า ขามันปวด แล้วเหมือนเห็นเวทนาความปวดอยู่รอบๆ ขา เหมือนกำลัง ขยุ่มขาอยู่ ต่อจากนั้นผมก็ กำหนดปวดหนอ ปวดหนอ ไปเรื่อยๆ พอความปวดเริ่มหาย มีความรู้สึกดีใจ ก็ กำหนดดีใจหนอ ดีใจหนอไป เรื่อยๆจนขาหายปวด รู้สึกว่าครั้งนี้ ขาหายปวดจากเหน็บชาเร็วกว่าทุกครั้งครับ ขอเรียนถามท่านอาจารย์ดังนี้ 1. ผมสงสัยว่า ตอนที่ผมทำสมาธิ อาการที่เหมือนจิตดับ แบบนี้ทำผิดหรือเปล่าครับ เป็นการขาดสติเผลอหลับไปหรือไม่ครับ หากเป็นการขาดสติเผลอหลับไปจะแก้ไขอย่างไรครับ 2. ผมปรารถนาเดินทางสายพุทธภูมิ ได้ อธิฐานขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวะโร เพื่อจะปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้องไม่ทราบว่า ทำอย่างไร การอธิฐานจะสำฤทธิ์ผลครับ ผมเคยสอบถามท่านอาจารย์ เรื่องลูกตอนที่ภรรยาตั้งครรภ์ ตรวจอัลตราซาวน์ แล้วพบถุงน้ำ ตอนนี้ลูกของผมคลอดมาได้ 6 เดือนแล้วครับ ไม่พบถุงน้ำเหมือนตอนอัลตราซาวน์ สุขภาพแข็งแรงดี แต่มีวิบากบางอย่างที่ติดตัวมาด้วย ก็คงเป็นผลกรรมที่ต้องชดใช้ แต่ก็มีสิ่งอัศจรรย์ เกิดขึ้นให้เห็นหลายอย่างครับ ถ้าคำถามนี้เป็นการรบกวนผมขอให้ท่านอาจารย์สนอง ได้ยกโทษอโหสิกรรมให้ผมด้วยครับ ขอให้ท่านอาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง ธรรมใดที่ท่านอาจารย์เห็นแล้ว ขอให้ข้าพเจ้าได้เห็นธรรมนั้นด้วยครับ กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ สนอง มากครับ คำตอบ อนึ่ง กำลังของสมาธิในดวงจิตของผู้ถามปัญหามีมากพอแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องบริกรรมคำว่า ปวดหนอ อีกต่อไป แต่ควรใช้จิตตามดูอาการปวดว่า ดำเนินไปตามกฎไตรลักษณ์ แล้วปัญญาเห็นแจ้งจึงจะเกิดขึ้น (๑) คำว่า จิตดับ หมายถึง จิตที่ไม่มีการเกิด - ดับ ( ภวังค์ ) อารมณ์ใดๆจึงเกิดขึ้นไม่ได้ คนที่มีสติกล้าแข็ง จิตจะไม่ดับ การหลับจึงเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น คำว่า เผลอ จึงหมายถึงจิตที่ขาดสติกำกับอิริยาบถที่เป็นปัจจุบันขณะ หากประสงค์จะแก้ปัญหานี้ ต้องเจริญสติทุกครั้งที่นึกได้ เจริญสติทุกครั้งที่ว่างจากงานของสังคม (๒) คำว่า อธิษฐาน หมายถึง การตั้งจิตปรารถนา ให้ตัวเองเข้าถึงสิ่งดีงาม ( ความเป็นพระพุทธเจ้า ) ในวันข้างหน้า ความสมปรารถนาจะเกิดขึ้นได้ต้องทำเหตุให้ถูกตรง คือต้องบำเพ็ญบารมีทั้งสิบตัวให้ครบทั้งสามระดับ ( บารมีธรรมดา อุปบารมี ปรมัตถบารมี ) การประพฤติเช่นนี้เรียกว่า นำพาชีวิตเดินทางในสายพุทธภูมิ |
2230. น้อมกราบ อาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร ในคุณความดีที่อาจารย์ได้อุทิศตนเพื่อเผยแพร่ธรรมะของพระพุทธเจ้า ด้วยใจนอบน้อมครับ สวัสดีครับ อาจารย์ ผมชื่อ ตุลย์เมธี สุวรรณพัสวี อายุ 35 ปีครับ เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อตอนผมอายุประมาณ 20 ปี ผมได้ปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง เพราะได้เกิดศรัทธาจากที่ได้อ่านหนังสือของ ท่านอาจารย์ พุทธทาสภิขุ ครั้งแรกที่นั้งสมาธิ ในห้องนอน นั่งเลยนะครับไม่ได้สวดมนต์ ปิดไฟด้วย ขณะนั่งผมก็คิด ทำไมคนเราต้องเกิด ทำไมต้องมีเนื้อ มีหนัง ทำไมต้องมีความรู้สึกทางกาย ทางใจ ความรู้สึกมันเกิดมาจากไหน ทำไมไม่ดับสูญ ขณะที่คิดก็ทำความรู้สึกตามไปด้วย ทำอย่างนี้ไปได้สักพัก ความรู้สึกทางกายมันหายไปหมดเลย ลมหายใจก็ไม่มี มีแต่ว่างกับความคิดล้วนๆครับ มันเหมือนว่า ลอยอยู่ ไม่มีตัวตนเลย แวบนึงความรู้สึกกลัวก็เข้ามา ผมก็ลืมตาเลยเพราะงง สงสัย แต่ก็ไม่รู้จะถามใคร สภาวะแบบนี้ เรียกว่าอะไรครับ เกิดขึ้นได้เพราะเหตุใดครับ เท่าที่อ่านเวปตอบปัญหาของอาจารย์ ส่วนมาก จะเข้าถึงสภาวะแบบนี้ได้แค่ครั้งเดียว ร่วมทั้งผมและเพื่อนอีกสองคน เป็นเพราะเหตุใดครับถึงไม่สามารถเข้าสภาวะเช่นนี้ได้อีก ในช่วงอายุเดียวกันนั้น ที่ยังปฏิบัติธรรมอยู่ เช้าวันหนึ่ง ตอนผมเดินออกจากบ้านไปหน้าปากซอย ระยะทางก็ไกลพอสมควร เพื่อขึ้นรถโดยสารไปทำงาน ตอนนั้นมีเงินติดตัวอยู่ 5 บาท ในระหว่างที่เดิน ขณะจิตนึง ความรู้สึกสุขก็เกิดขึ้นกับใจ มันเป็นความสุขที่อธิบาย หรือเขียนเป็นตัวหนังสือไม่ได้เลยครับ มันอิ่มใจไปหมด สุขที่สุดในชีวิตที่เคยเจอมาเลย มันแปลกที่อยู่ดีๆมันก็เกิดขึ้นเอง สุขขึ้นมาเอง เดินไป ยิ้มไป ตัวเบาโปร่ง สว่างยังไงไม่รู้บอกไม่ถูกครับ ใครเห็นเข้าคงนึกว่าผมบ้าแน่ๆ สภาวะของสุขที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่าอะไรครับ แล้วเกิดขึ้นได้เพราะเหตุใดครับ ผมเป็นช่างซ่อมมือถือนะครับ วันหนึ่งมีเครื่องซ่อมเข้ามา พอผมรู้อาการเสีย ความคิดก็เข้ามาเลย ว่าจะคิดเงินลูกค้าเท่าไหร่ ตอนนั้นค่าซ่อมยังแพงมาก กำไรเยอะ ช่วงแวบนึงของขณะจิต ผมสัมผัสได้ถึงตัวโลภ ผมหมายถึง ตัวโลภนะครับ ไม่ใช่ความโลภ ผมมั่นใจเต็มร้อย ผมรู้สึกได้เลยว่ามันเป็นตัว เป็นตนเลยครับ สัมผัสได้จริงๆครับ แต่อธิบายรูปร่างไม่ได้ คือเหมือนใจเราไปสัมผัสมันได้เลย ตัวโลภที่ผมสัมผัสได้ มันมีอยู่จริงไหมครับ ถ้ามีอยู่จริง เพราะเหตุใดผมถึงสัมผัสมันได้ครับ เมื่อปี 54 ผมตั่งใจที่ทานอาหารมังสวิรัติ และไม่มีเพศสัมพันธ์ ตั้งใจ 1 ปี แต่ทำได้ 10 เดือนครับ รักษาสัจจะไม่ได้อีกตามเคย เรื่องสัจจะผมพร่องเป็นอย่างมาก อาจารย์มีวิธีทีที่จะแนะนำให้ผมนำไปปฎิบัติเพื่อให้เป็นแนวทาง ในการรักษาสัจจะบ้างมั้ยครับ รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยครับ ในช่วงปี 54 คืนหนึ่งผมนอนภาวนากำหนดลมหายใจอย่างเช่นทุกคืน สักพัก ขณะจิตนึง ผมเห็นบางอย่างเกิดขึ้นในใจ มันชัดมาก มีความรู้สึกว่าเป็นดวงๆ กระพริบๆ เกิด-ดับๆ เยอะและเร็วมาก ในขณะที่มันกระพริบอยู่นั้น รู้สึกได้ถึงความกระเพื่อม สั่นไหว วิ่งไปทั่วร่างกาย เกิดขึ้นไม่กี่วินาทีหรอกครับ แต่มันเห็นและรู้สึกได้ชัดเจนมากครับ สภาวะอย่างนี้เรียกว่าอะไรครับ เกิดขึ้นได้เพราะเหตุใดครับ ทุกเหตุการณ์ที่เล่ามานี้ เป็นความจริงที่เกิดกับผมครับ แต่เวลาไปเล่าให้เพื่อนๆ หรือใครฟัง รู้สึกได้เลยว่าคนฟังจะรู้สึกแปลกๆกับผม ตอนเด็กๆ ผมได้ขโมยเงินที่เค้าร่วมกันใส่ซองทำบุญ แต่จำไม่ได้ว่าทอดผ้าป่า หรือทอดกฐิน เป็นจำนวนไม่เยอะครับ ประมาณพันกว่าบาท ผมได้ฟังที่อาจารย์ได้บรรยายตอนหนึ่ง เรื่องการย้ายฐานเจดีย์ ตอนนี้ผมเข้าใจในเรื่องกฎแห่งกรรมเป็นอย่างดีแล้วครับและในเวลานี้ก็กำลังชดใช้อกุศลกรรมวิบาก ที่มันให้ผลอยู่ ผมยอมรับในผลของกรรมที่ได้สร้างไว้เป็นอย่างดี แล้วก็ปล่อยให้กรรมนั้นดำเนินไปตามกฏตามเหตุ ตามปัจจัยของมันครับ ผมมีความทุกข์น้อยมากครับถ้าเทียบกับสภาวะกรรมที่มันส่งผลอยู่ในขณะนี้ ตัวผมก็ปฏิบัติธรรมไปตามสติกำลัง ที่พึงจะปฏิบัติได้ ที่อยากจะถามอาจารย์คือ ผมต้องทำบุญแบบไหนครับ เพื่อให้สมเหตุกับกรรมที่ได้ขโมยเงินทำบุญที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ครับ รบกวนอาจารย์แนะนำด้วยครับ ข้าพเจ้าตั้งจิตขอขมา อาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร ที่ได้ล่วงเกินอาจารย์ด้วยใจ ขออาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร อโหสิกรรมให้ข้าพเจ้าด้วยเทิด พร้อมกันนี้ บุญกุศลใดที่อาจารย์ได้สร้างมาแล้ว ข้าพเจ้าก็ขออนุโทนาในบุญนั้นด้วยเทอญ สาธุ สาธุ คำตอบ ที่จิตไปรู้ เห็น เข้าใจในความเป็นจริงแท้ เพราะเห็นว่า สรรพสิ่งเป็นของมิใช่ตัวใช่ตน ( อนัตตา ) เช่น เห็นร่างกายไม่ใช่ตัวใช่ตน ลมหายใจไม่ใช่ตัวใช่ตน ทั้งสองจึงไม่มีอยู่แท้จริง จิตจึงปล่อยวางและว่างจากอารมณ์ปรุงแต่ง สภาวะที่เห็นเป็นเช่นนี้เพราะจิตเข้าถึงปัญญาเห็นแจ้ง การเข้าถึงปัญญาเห็นแจ้ง ส่วนมากเข้าถึงได้เพียงครั้งเดียว เป็นเพราะจิตมีกำลังสติอ่อน เมื่อใดจิตระลึกทันทุกสิ่งที่เข้ากระทบจิต และเห็นทุกสิ่งดับไปตามกฏไตรลักษณ์ เมื่อนั้นปัญญาเห็นแจ้งย่อมเกิดขึ้น แล้วปัญหาของผู้ถามและเพื่อนอีกสองคนก็จะหมดไป ความสุขที่เกิดขึ้น เนื่องจากจิตเป็นอิสระจากสิ่งกระทบ ผู้ไม่ประมาทพึงรักษาจิตให้มีสติและมีปัญญาเห็นแจ้ง จนสามารถนำพาชีวิตพ้นไปจากสมมุติได้เมื่อใด เมื่อนั้นจิตย่อมเข้าถึงวิมุตติสุขได้ โลภะ เป็นกิเลสมารตัวใหญ่ที่คอยขัดขวางบุคคลไม่ให้ทำความดี จงมองโลภะด้วยจิต จนเห็นว่ากิเลสตัวนี้ดับไปตามกฎไตรลักษณ์ แล้วจิตจึงจะมีอิสระจากโลภะได้ ตรงกันข้าม ผู้มีปัญญาเห็นผิดย่อมเห็นว่า โลภะเป็นตัวตน ( อัตตา ) จึงไขว่คว้าแสวงหาโลภะมาไว้กับตน เมื่อโลภะถูกเก็บสั่งสมในดวงจิตจนมีกำลังมากแล้ว โอกาสเข้าใกล้ความเป็นเปรตย่อมเกิดขึ้น เช่น ลักขโมยเงินไปทำบุญ เป็นเพราะจิตมีโลภะครอบงำ หากบุคคลประพฤติให้ทรัพย์เป็นทานอยู่เสมอ หยุดการไปเอาของที่เจ้าของยังมิได้อนุญาตยกให้ หนทางสู่ความเป็นเปรตย่อมไม่เกิด สุดท้าย อโหสิให้แล้ว |
2229. หนูได้เรียนถามปัญหากับอาจารย์ไป คำถามของหนูข้อ 2224 อาจารย์ได้แนะนำวิธีการแก้ไขให้ซึ่งหนูพยายามทำตาม และอาจารย์บอกว่าหนูยังไม่ถึงสภาวะปรมัตถ์ ให้ย้อนดูคำถามที่ 2147 ข้อ 1. สภาวะปรมัตถ์มันจะปล่อยของมันเอง ซึ่งข้อ 2147 ก็คือหนูเองที่เป็นคนถาม 1. หนูรู้สึกว่าการปฏิบัติมันไม่อยู่ตัวเลย เดี๋ยวดีเดี๋ยวไม่ดี เปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ หลุดง่าย หมายถึงว่าเราย่อหย่อนไปใช่ไหมค่ะแต่พอหนูคิดแล้วปวดศรีษะหนูก็รีบตัดใจปล่อยเรื่องนั้นทันทีมันก็หายปวด ถูกไหมค่ะ ( พยายามเจริญสติให้ทันการกระทบตั้งแต่ทีแรกด้วย) 2. ถ้าเรายังต้องอยู่ในสังคม ทำงานหาเงิน ต้องกินต้องใช้ เป็นพยาบาล พบเจอแต่สังคมผู้หญิง หลายครั้งหนูก็รู้อยู่ว่าต้องละอย่างไร ทำอย่างไร แต่มันก็ยาก ยากมากเลย เวลาที่ไม่ได้อยู่ในห้องกรรมฐาน มันละยาก อาจารย์มีวิธีใดที่จะปฏิบัติไปได้โดยสบายในสังคมที่วุ่นวายไหมค่ะ 3. หนูอยากบวชแต่ยังบวชไม่ได้ เพราะมีแม่ต้องดูแล แม่หนูอายุ 56 ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เราควรดูแลมารดาผู้มีพระคุณก่อนใช่ไหมค่ะ 4. ออกจากกรรมฐานมาครั้งนี้ มีเพื่อนที่เรียนธรรมมาด้วยกันท่่านหนึ่ง และมีครูบาอาจารย์อีกท่านหนึ่งซึ่งหนูเคราพมากเป็นฆารวาส สอนธรรมตั้งแต่หนูปฏิบัติครั้งแรกเมื่อ 2 ปีก่อน ท่านบอกว่าหนูน่าจะปฏิบัติผิดแนวพระพุทธเจ้า ควรเลิกปฏิบัติ เพราะหนูขาดสติ แต่หนูว่าไม่น่าจะใช่ เพราะปฏิบัติแล้วเราดีขึ้น ช่วงที่เราไม่ดี คือช่วงที่เราขาดสติไม่ทันกิเลส หนูคิดถูกไหมค่ะ หนูก็เลยปฏิบัติแนวเดิมของหนูต่อไป กราบขอบพระคุณในความเมตตาของอาจารย์ที่ช่วยแนะนำสั่งสอนค่ะ คำตอบ (๒) ในครั้งพุทธกาล พระพุทธโคดมตรัสถามภิกษุที่นั่งอยู่ใกล้ดังนี้ ดังนั้นผู้ใดพัฒนาจิตจนมีกำลังของสติกล้าแข็งได้แล้ว ผู้นั้นย่อมอยู่สงบในสังคมที่วุ่นวายได้ (๓) จงดูพระพุทธโคดมและพระสารีบุตรเป็นตัวอย่าง ได้พัฒนาจิตจนบรรลุสภาวธรรมสูงสุด แล้วจึงหันมาช่วยผู้อื่น เช่น พระพุทธโคดม ช่วยพระเจ้าสุทโทธนะ ( พระราชบิดา ) จนบรรลุอรหัตตผล ช่วยพระนางปชาบดี ( เชษฐภคินีของพระนางมหามายา ) จนบรรลุอรหัตตผล ช่วยราหุล ( พระราชบุตร ) จนบรรลุอรหัตตผล ช่วยสิริมหามายาเทพบุตรจนบรรลุโสดาปัตติผล และพระสารีบุตรช่วยนางสารีผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ให้กลับมามีสัมมาทิฏฐิและบรรลุโสดาปัตติผลได้ (๔) เครื่องชี้วัดการเข้าถึงธรรม ดังนั้นคนที่พูดว่า ผู้ถามปัญหาขาดสติ เป็นการพูดที่ถูกตรงครับ |
2228. คำตอบ (๒) ผู้ใดมีจิตจดจ่ออยู่กับศีลที่ตนรับ และจิตทิ้งขันธ์ลาโลกในขณะนั้น จิตวิญญาณจะถูกพลังของสติผลักดันให้โคจรไปสู่สุคติภพ จึงสามารถเกิดเป็นมนุษย์ได้อีก (๓) บุญใหญ่ ( จิตตภาวนา ) ที่มีผลทำให้จิตเปลี่ยนสภาวธรรมจากปุถุชนไปเป็นอริยบุคคล ( ปิดอบายภูมิ ) ผลกรรมย่อมเบาบางลงได้ และผลของกรรมย่อมหมดไปได้ ( อโหสิกรรม ) เมื่อละโลกเข้าสู่ภาวะนิพพาน |
2227. ผมเองเคยเป็นมิจฉาธิฐิมาก่อน ไม่เคารพพระสงฆ์ องค์เจ้ามองเรื่องธรรมะเป็นเรื่องไร้สาระ เคยทำผิดศีลมาแล้วทุกข้อ เริ่มมามีธรรมะเอาเมื่อ อายุได้ 29 ปี ปฏิบัติธรรมยังได้แค่รู้สึกวูบวาบเป็นบางขณะ การเคยผิดศีลและเป็นมัจฉาธิฐิมาก่อน เป็นอุปสรรคไหม แล้วมีวิธีลบล้างความชั่วเดิมๆให้เบาลงได้ไหม ทางเห่งการทำดีปิดไปหรืยัง กลับตัวตอนนี้ยังทันไหมครับ คำตอบ ดังนั้นปัญหาที่ถามไป สามารถแก้ไขได้ ด้วยการหยุดประพฤติพฤติกรรมชั่วทั้งปวง แล้วหันมาพัฒนาจิตให้มีศีลคุมอยู่ทุกขณะตื่น อุปสรรคอันเป็นผลมาจากกรรมชั่วที่ทำไว้แต่อดีต ย่อมแก้ไขได้ แต่ต้องใช้หนี้เวรกรรมไปเรื่อยๆจนกว่าจะหมดสิ้น ด้วยการทำดีอยู่เสมอ คือสวดมนต์ก่อนนอน หลังสวดมนต์ให้เอาจิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้า - ออก ( อานาปานสติ ) เมื่อกิจกรรมทั้งสองแล้วเสร็จ ต้องอุทิศบุญกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรทุกวัน เมื่อใดที่จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิดีแล้ว ให้นำตัวเข้าปฏิบัตตามสำนักที่เปิดสอน องคุลีมาลประพฤติชั่วมามาก ยังกลับตัวได้ ประสาอะไรกับผู้ถามปัญหาจะทำไม่ได้ล่ะครับ |
2226. กราบเรียน อ.ดร.สนอง ที่เคารพอย่างสูง , เนื่องด้วยกระแสวัตถุนิยม และ พฤติกรรมรุนแรงที่สื่อถ่ายทอดออกมา รวมถึงกระแส social media ที่ไม่คัดกรองสิ่งที่ถูกต้องครอบครัวของพี่ชายหมกมุ่นกับสิ่งเหล่านี้ แม้ทางบ้านจะแนะนำให้ไปฟังธรรมหรือปฏิบัติธรรม ก็ถูกปฏิเสธเสมอมา จนเมื่อเร็ว ๆ นี้ครอบครัวของพี่ชายมีปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ๆหลาน ๆ มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้น ไม่ค่อยสนใจเรียน ล่าสุดพี่ชายเดินหลงผิดทาง ผิดศีลข้อ 3 พี่สะใภ้เหม่อลอยคิดจะทำร้ายตัวเองและคิดแค้นใจพี่ชายลึก ๆพี่ ๆ ที่บ้านพยายามค่อย ๆ พูดเตือนสติ พี่ชาย พี่สะใภ้ และหลาน ๆ แต่ดูเหมือนจะยิ่งเลวร้ายลงกว่าเดิม โดยส่วนตัว ไม่รู้จะช่วยอะไรให้ดีขึ้นกว่านี้ ได้แต่ดูกายดูจิตดูใจตัวเอง และแนะนำได้เท่าที่แนะนำ แต่ดูเหมือนจะไร้ผลเพราะพี่ชายไม่ค่อยฟังใคร ยิ่งถ้าเป็นน้อง ยิ่งไม่ฟัง ส่วนตัวได้แต่รู้สึกสังเวชใจ ทุกคนมีกรรมเป็นของ ๆ ตนจริง ๆจึงได้แต่แผ่บุญกุศลที่ตนเองได้สั่งสมมา และแผ่เมตตาให้ทุกสรรพสัตว์ รวมถึงทุกคนในครอบครัวด้วย เผื่อจะดลจิตดลใจให้เขาคิดถูก พูดถูก ทำถูก ไม่หลงผิดทาง ไม่ถลำลึกไปกว่านี้ จึงขอกราบเรียนถามอาจารย์ด้วยความเคารพว่าพอจะมีคำแนะนำเพิ่มเติมที่พอจะช่วยให้พี่ชายพี่สะใภ้ และ หลาน ๆ ให้ออกห่างจากโลกมืดได้อย่างไร กราบขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง คำตอบ |
2225. เรียน ท่านอาจารย์สนองที่เคารพ ดิฉันอยากขอความเมตตาจากอาจารย์ ช่วยแนะนำวิธีการสวดมนต์ ทำสมาธิ และปฏิบัติธรรมแบบง่าย ๆ รวมถึงการแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากตอนนี้สามีของดิฉันเป็นชาวต่างชาติมีเรื่องทุกข์ใจเกี่ยวกับการตกงาน กำลังหางานใหม่ ซึ่งบางครั้งเหมือนว่าจะได้งาน แต่ก็พลาดหวังไปโดยไม่คาดคิด ทั้งที่เขาเป็นคนมีความสามารถมาก เช่น เมื่อไปสัมภาษณ์งานเขาผ่านทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติแต่ทางบริษัทบอกว่าต้องขอโทษด้วย เนื่องจากตำแหน่งงานเต็มแล้วมีคนครบหมดแล้ว ซึ่งถ้าบริษัททราบเรื่องนี้ก่อนและแจ้งให้สามีทราบ ก็คงจะไม่เดินทางไปและยังไม่ลาออกจากงานเดิม (สาเหตุของการลากออกจากงานเดิม เนื่องจากบริษัทไม่มีการให้เซ็นสัญญาในการเป็นพนักงาน สามีคิดว่าไม่มีความมั่นคงบริษัทจะให้ออกวันใดก็ได้ จึงพยายามหางานที่มีความมั่นคงมากกว่า) เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงพอสมควร ต้องเดินทางข้ามประเทศ (ดิฉันกับสามีอยู่ต่างประเทศ) จนเป็นเหตุให้เขารู้สึกเสียใจอย่างมาก ที่ไม่สามารถเลี้ยงดูเราให้ดูได้ คิดว่าเขาไม่ดีพอสำหรับเรา ดิฉันให้กำลังใจและพยายามบอกให้เขาคิดถึงปัจจุบันว่าเรายังมีเงิน เนื่องจากดิฉันยังมีเงินเก็บอยู่บ้าง ยังพอใช้จ่ายได้อีกถึงสองสามปี ดิฉ้นพยายามแนะนำว่าให้เขาลองสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิดู เขาถามว่ามีวิธีง่าย ๆ แนะนำหรือไม่ ซึ่งหากเป็นภาษาไทยดิฉันพอแนะนำได้เนื่องจากได้สวดมนต์ไหว้พระ ปฏิบัติธรรมอยู่เกือบทุกวัน สำหรับภาษาอังกฤษดิฉันพอแนะนำได้บ้าง แต่เกรงว่าจะไม่ครบสมบูรณ์ ดิฉันได้พยายามหาข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษตามเว็บไซต์ แต่ยังไม่ได้ข้อมูลที่ชัดเจน หรือจะมีวิธีการใดที่ีจะเป็นจุดเริ่มต้นแบบง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเรียนรู้เรื่องนี้มาก่อน จึงขอความกรุณาจากอาจารย์ ช่วยชี้แนะแนวทาง ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง คำตอบ ต้องใช้ปัญญา 20% แต่ใช้ EQ สูงถึง 80% จากผู้รู้จริงในพุทธศาสนา คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ต้องพัฒนาจิตตนเองให้มีการบำเพ็ญทาน มีการรักษาศีล และมีการเจริญจิตตภาวนาอยู่ทุกขณะตื่น เมื่อเหตุปัจจัยทั้งสามถึงพร้อม ผู้น้นย่อมมีดวงดี(ชะตาดี) ผู้มีดวงดีย่อมประสบกับความสำเร็จในสิ่งที่ปราถนา คำว่าทานคือการให้ทุกสิ่งที่ดีงาม ศีลหมายถึงการเว้นหรือไม่ประพฤติฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดลูกเมียคนอื่น ไม่พูดเท็จ และไม่ดื่มสิ่งที่มีแอลกอฮอลปนเปื้อน ส่วนการภาวนาหมายถึงการพัฒนาจิต ต้องสวดมนต์ก่อนนอนหลังสวดมนต์แล้วเสร็จให้ลองจิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้า-ออกที่ปลายจมูก เมื่อจิตสงบจากอารมณ์แล้วให้ใช้จิตพิจารณาทุกสิ่งที่เข้ากระทบจิต ดำเนินไปสู่ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแท้จริง แล้วจิตจะปล่อยวางแล้วว่างเป็นอุเบกขารมณ์ นี่คือการภาวนา |
2224. หนูเข้ากรรมฐานครึ่งเดือน วันสุดท้ายก่อนออกพระวิปัสสนาจารย์รับรองว่าหนูได้สภาวะปรมัตถ์ล้วน สภาวะที่เป็นคือ ความชัดเจนของธาตุ 4 ที่เกิดกับกายอยู่ดีๆมันก็หายไปหมดเลย การดูใจก็หายหมดมองไม่เห็นต้นจิตเลย แต่พระอาจารย์ก็ไม่พูดว่าอะไร บอกแค่ว่าดีแล้ว วันต่อมาก็ออกจากกรรมฐานด้วยมีความรู้สึกสงสัยอยู่บ้าง มีปัญหาเรียนถามอาจารย์ 1. เวลาเดินจงกรมในสภาวะปรมัตถ์แล้วเท้าเคลื่อนล่องลอยไปเองหลายทิศ ควบคุมไม่ค่อยได้ ไม่ลงตัวกับจังหวะที่เดินจงกรมอยู่ต้องทำอย่างไรค่ะ 2. เวลากราบพระกราบช้าเห็นสภาวะปรมัตถ์จริงๆแล้วหนูเกิดกลัวๆบ้าง หลอนๆ คือรู้อยู่ว่ามันไม่ใช่เรา แต่มันหลอนเหมือนใคร อะไรสิงประมาณนี้ (ถ้ามันเป็นของจริงทำไมถึงกลัว) หนูดูแล้วกำหนดกลัวหนอ ๆ แล้วก็ใจสู้ดูๆไป ทำๆไป ถึงมันเคลื่อนไป ไม่ใช่เราเคลื่อนก็ดูๆไปถูกไหมค่ะ 3. ออกมาทำงานในสังคมปกติแล้วอกุศลจิตมันก็มาเพียบพร้อมเหมือนเดิม กิเลสก็ยังมีอยู่ แต่ก็ละง่ายขึ้น บางอย่างที่อารมณ์หรือปัญหามันใหญ่หน่อย แล้วหนูคิดๆ แล้วมันปวดศรีษะเหมือนมันก็ยื้ออยู่ไม่ยอมให้คิด อยากคิด ก็คิดไม่ออก เกิดจากอะไร คิดได้ไหม หมายถึงคิดเพื่อจะหาทางออก หรือต้องแก้ไขอย่างไรค่ะ 4. สภาวะปรมัตถ์นี้ยังคงต้องกำหนด หมายถึงบริกรรมควบคู่ไปด้วยไหม ถ้าไม่บริกรรมแล้วจะหลุดไหมค่ะ 5. สภาวะปรมัตถ์นี้เทียบได้กับโครตภูญาณหรือเปล่า แล้วถ้าอินทรีย์ไม่สมดุล หรือกำลังตก มีโอกาสที่จิตจะตกสู่ฝ่ายปุถุชนไหมคะ 6. มีอีกอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปมากคือ หนูกลัวการทำผิดมาก แล้วถ้าเราเผลอไปชั่วครั้ง ชั่วคราวจะทำอย่างไรค่ะ ถ้าต้องการบรรลุธรรมในชาตินี้ แต่ผิดบ้างเล็กน้อยนี่มีบ้างไหมค่ะ เช่น หนูดูแลผู้ป่วยเจ็บป่วยอยู่ เขาไม่ค่อยให้ความร่วมมือเท่าไหร่ ไอตลอดไม่มีเสมหะแต่ก็ยังจะไอ ให้คำแนะนำให้จิบน้ำอุ่น+พักผ่อนเขาไม่ทำตาม จนหลอดลมตีบ เหนื่อย ต้องพ่นยา หนูก็เกิดโทสะ ว่า ดุ บ่น หลังจากนั้นอีกแค่ 30 นาทีต่อมาอยู่ดีๆ หนูเองเกิดอาการเหนื่อยเหมือนหายใจไม่สะดวก หายใจตื้นแล้วมีเสมหะติดคอ ต้องไอขับเสมหะออก เป็นอยู่ชั่วครู่เดียวไม่ถึง 5 นาทีก็หาย หนูเองกลัว และก็แปลกใจมาก ทำไมผลกรรมมันแรงและเร็วมากเลยค่ะ อย่างนี้ก็ไม่ยุติธรรม ถ้าเทียบกับคนอื่นทั่วๆไป เขาทำผิดมากมาย แต่เขาอาจจะไม่ต้องรับผลที่หนักเหมือนคนปฏิบัติธรรม กราบขอบพระคุณในความเมตตาของอาจารย์ค่ะ คำตอบ (๒) คนที่เกิดอารมณ์กลัว เป็นคนไม่รู้จริงในสิ่งที่กลัว ผู้ที่เข้าถึงปรมัตถธรรม ( อริยบุคคล ) ย่อมไม่กลัวในสิ่งใดๆ ดังนั้นอารมณ์กลัวจึงมีต้นเหตุมาจากจิตขาดสติ จึงไปรับเอาสิ่งกระทบที่ไม่ดีมาปรุงเป็นอารมณ์กลัว (๓) คนที่มีสติกล้าแข็งในดวงจิต ย่อมระลึกได้ทันอายตนะภายนอกที่เข้ากระทบจิต แล้วปัญญาเห็นแจ้งย่อมเห็นสิ่งกระทบจิตดับไปตามกฎไตรลักษณ์ จิตจึงปล่อยวางสิ่งที่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ( อนัตตา ) และจิตผันเข้าสู่ความว่างเป็นอุเบกขารมณ์ อาการต่างๆของจิต เช่น ปวดศีรษะหรือคิดไม่ออก จะไม่เกิดขึ้น คือพัฒนาจิต ( สมถภาวนา ) ให้มีสติ และพัฒนาจิต ( วิปัสสนาภาวนา ) ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง แล้วปัญหาก็จะหมดไปได้ (๔) ยังไม่สามารถเรียกว่าเป็นสภาวะปรมัตถ์ วิธีที่จะเข้าถึงสภาวะปรมัตถ์ ต้องพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง แล้วปัญญาเห็นแจ้งย่อมเข้าถึงสภาวะปรมัตถ์ด้วยตัวของมันเอง ( ดูคำตอบเพิ่มเติมจาก ข้อ ๒๑๔๗ (๑)) (๕) สิ่งที่ผู้ถามปัญหาถามไป ยังเข้าไม่ถึงสภาวะปรมัตถ์ และยังมิใช่โลกุตตรญาณที่เรียกว่า โคตรภูญาณ ครับ (๖) คนที่กลัวการทำผิด ยังเป็นคนที่มีสภาวธรรมในดวงจิตเป็นปุถุชน ยังมีอารมณ์โกรธ มีอารมณ์อยู่ใต้อำนาจของกิเลสมาร ( ด่าว่า ดุ บ่น ) ส่วนอริยบุคคลเป็นผู้รู้แจ้ง จึงไม่รับเอากิเลสมารต่างๆที่กล่าวมามีอำนาจเหนือใจ รวมถึงความอยุติธรรมใดๆ ย่อมไม่ปรากฏกับอริยบุคคลอีกด้วย |
2223. คำตอบ |
2222. กราบเรียนอาจารย์สนอง วรอุไร ข้าพเจ้าชื่อจุฑามาศ ก่อนหน้านี้ประมาณ 2-3 ปี ได้เคยอ่านหนังสือที่อาจารย์เขียนหลายเล่ม และประมาณปีที่แล้วได้ไปฟังอาจารย์บรรยายที่โรงแรมเฟิร์สท ประตูน้ำ ช่วงแรกๆเคยมีความสงสัยในตัวของอาจารย์ ข้าพเจ้าขอกราบขออโหสิกรรมจากท่านอาจารย์ในสิ่งที่เคยล่วงเกินจะด้วยกาย วาจา ใจก็ดี ขออาจารย์ได้โปรดอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าขอเรียนถามอาจารย์ดังนี้ 1). ข้าพเจ้ามีความปรารถนา ที่จะบวชเป็นสามเณรี เพื่อสัมผัสชีวิตนักบวชและศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนตามโครงการฯระยะสั้น (ในอนาคตเมื่อเหตุปัจจัยลงตัวอยากจะละทางโลก แต่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเป็นในทางใด) แต่ด้วยข้าพเจ้ามีความรักชอบในเพศเดียวกันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กๆจนทุกวันนี้อายุ 42 ปี และเคยทราบว่าพระวินัยห้ามบุคคลที่เป็นบันเฑาะห์บวช เกรงว่าจะผิดพระวินัยและเป็นบาป ขออาจารย์เมตตาให้ความกระจ่างด้วย 2). ข้าพเจ้าเริ่มเข้าสู่เส้นทางธรรม ในปี 51 ปฏิบัติธรรมครั้งแรก ตามแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า และเคยไปปฏิบัติธรรมที่เสถียรธรรมสถานครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นก็นำแนวทาง ของท่านโกเอ็นก้ามาปฏิบัติเองที่บ้าน แต่ก็มีความรู้สึกว่ายังไม่ถูกจริตของตัวเองนัก และคิดเสมอว่าเราควรมีครูบาอาจารย์เพื่อสั่งสอนแนะนำและสอบถามความก้าวหน้าตลอดถึงสิ่งที่สงสัยไม่เข้าใจ ทุกวันนี้ตั้งใจถือศีล 5 ทุกวันตลอดชีวิต 2-3 ปีที่ผ่านมาสวดมนต์ นั่งสมาธิสม่ำเสมอ วันละ 1-1.5 ชม. ชีวิตดีกว่าเมื่อตอนยังไม่มีธรรมอย่างเห็นได้ชัดกับตนเอง แม้จะดูแปลกในสายตาคนอื่น และขาดเพื่อนที่เคยมีไป ก็ไม่เป็นไร ปีนี้รู้ตัวว่าหละหลวม มีเพียงระลึกรู้ลมหายใจ และสติในระหว่างวันเท่าที่ทำได้ และไม่เคยขาดตอนก่อนนอน แต่ความตั้งใจยังมีอยู่เต็มเปี่ยม จะขอมีดวงตาเห็นธรรมให้ได้ในชาตินี้ลึกๆรู้สึกเสมอว่าเรามีครูบาอาจารย์ แต่ยังไม่พบ หลายครั้งคำตอบทางธรรมได้พบโดยบังเอิญผ่านหนังสือที่ไม่ได้ตั้งใจอ่าน และผ่านการถามธรรมของผู้อื่นกับข้าพเจ้า จึงอยากจะขอความเมตตาอาจารย์แนะนำครูบาอาจารย์และหรือสถานที่ให้ด้วย ข้าพเจ้าขอกราบขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง จุฑามาศ คำตอบ (๑) การศึกษาหาความรู้ในพุทธศาสนาทำได้ ๒ ทางคือ การศึกษาเล่าเรียน ( สุตมยปัญญา และ จินตามยปัญญา ) เพื่อให้เกิดเป็นความรู้แบบจำได้ และในอีกแนวทางหนึ่ง เป็นการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เพื่อให้จิตเกิดปัญญาเห็นแจ้ง ซึ่งสามารถนำพาชีวิตไปสู่การพ้นทุกข์ คนที่รับชอบในเพศเดียวกัน ยังเป็นผู้มีศีลด่างพร้อย จึงสามารถเรียนรู้แบบแรกได้ แต่เมื่อนำตัวเองไปปฏิบัติธรรมแล้ว ย่อมเข้าไม่ถึงปัญญาเห็นแจ้ง ที่สามารถนำพาชีวิตไปสู่ความพ้นทุกข์ (๒) หากผู้ถามปัญหา ประสงค์พัฒนาจิตให้ถูกับจริตของตน ให้ดูคำตอบใน www.kanlayanatam.com ข้อ ๒๒๒๐ แล้วประพฤติให้ถูกตรง ย่อมมีโอกาสทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ อนึ่ง ผู้ใดประพฤติอย่างน้อยศีล ๕ โดยมีกาย มีวาจา และมีใจตรงกัน ผู้นั้นย่อมมีความศักดิ์สิทธิ์ เมื่อปฏิบัติธรรมแล้ว ย่อมมีโอกาสเข้าถึงธรรมได้ สุดท้ายแนะนำให้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดมเหยงคณ์ จังหวัดอยุธยา |
2221. กราบเรียนท่านอาจารย์ ดิฉันได้ปฏิบัติธรรมมาแล้วเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี ตามแนวสติปัฏฐานสี่ ขณะนี้มีสภาวธรรมที่เกิดขึ้นกับตัวเองในขณะนั่งสมาธิตั่งแต่ ตัวโยก หน้าสะบัด ตัวกระตุ๊ก ได้ปรึกษากับวิปัสนาจารย์ท่านก็ให้กำหนดรู้ตามอาการนั่นๆ ขณะนี้รู็สึกว่ามีสภาวธรรมบางอย่างติดออกมาหลังจากคลายสมาธิแล้ว เช่น อาการกระตู๊กที่ใบหน้า อยากเรียนถามท่านอาจารย์ว่าจะต้องแก้ไขอย่างไร และสภาวธรรมที่เกิดเป็นเรื่องปกติใช่ไหม และควรจะต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะรู้สึกว่าบางทีตั้งใจจะนั่งสมาธิ กำลังอธิษฐานเข้าสมาธิยังไม่ทันเสร็จสภาวะนั้นก็เกิดขึ้นแล้ว และรู้สึกว่าสภาะดังกล่าวเกิดเป็นฐานกายและชัดเจนแล้วเราไม่ค่อยได้พิจารณาฐานอื่นเป็นอะไรไหม บางทีวิปัสนาจารย์กำลังพาเดินจงกรมบางครั้งกำลังเดินจงกรมกำลังจะกำหนดขวาย่างหนอ แต่หน้าสะบัดทำให้ต้องมากำหนดสะบัดหนอแทน ทั้งที่ดำลังเดินอย่างนี้ถูกต้องหรือเปล่าค่ะ ช่วยชี้แนะแนวทางดิฉันด้วยค่ะ ขอขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงและขออนุโมทนาบุญกับทุกบุญที่ท่านอาจารย์ได้ทำมาค่ะ คำตอบ อาการกระตุกที่ใบหน้า เกิดขึ้นเพราะจิตเข้าถึงสมาธิระดับต้น ( ขณิกสมาธิ ) วิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ต้องกำหนดว่า กระตุกหนอๆๆๆๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการกระตุกที่ใบหน้าจะดับไป อาการกระตุกที่ใบหน้า เป็นเรื่องปกติของบางคนที่ปฏิบัติสมถกรรมฐาน เช่นเดียวกันการเดินจงกรม เป็นการฝึกจิตให้มีสติ คือเอาจิตจดจ่ออยู่กับเท้าที่ย่างก้าว เมื่อใดจิตไประลึกรู้อยู่กับการสะบัดของใบหน้า แสดงว่าจิตขาดสติ ( สติหลุดจากเท้าที่ย่างก้าว ) จึงต้องกำหนดว่า สะบัดหนอๆๆๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าอากาดังกล่าวจะดับไป แล้วเอาจิตมาจดจ่ออยู่กับเท้าที่ย่างก้าวดังเดิม ( ผู้ถามปัญหาทำถูกแล้ว ) วิธีการเช่นนี้เป็นการเพิ่มกำลังสติให้มีมากขึ้น ผู้ใดทำตัวเป็นคนโง่ ประพฤติตามคำชี้แนะของผู้มีประสบการณ์เข้าถึงธรรมได้แล้ว ผู้นั้นย่อมประสบกับความสำเร็จในการปฏิบัติธรรม ตรงกันข้าม ผู้ใดทำตัวเป็นเหมือนน้ำชาล้นถ้วย ไม่เชื่อและไม่ทำตามผู้รู้จริงมาบอกกล่าว ผู้นั้นย่อมเข้าไม่ถึงธรรมที่ปฏิบัติ
. ขอภัยที่พูดตรง |
2220. หนูมีคำถามที่สงสัยมานานแล้ว เรื่องการฝึกสมาธิให้ตรงกับจริต จริตมีกี่แบบคะอาจารย์ หนูจะรู้ได้อย่างไรคะว่า อย่างไหนที่ตรงจริตเรา คำตอบ ๑. ราคจริต มีความประพฤติ รักสวย รักงาม ละมุนละไม หากปรารถนาให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ควรนำเอาอย่างใดอย่างหนึ่งในอสุภะ ๑๐ หรือ อรูป ๔ มาเป็นองค์บริกรรม ๒. โทสจริต มีความประพฤติปกติ ใจร้อน หงุดหงิดรุนแรง หากปรารถนาให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ควรนำเอาอย่างใดอย่างหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ หรือ กสิณ ๑๐ มาเป็นองค์บริกรรม ๓. โมหจริต มีความประพฤติปกติ เหงาซึม งมงาย เชื่อคนง่าย หากปรารถนาให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ควรนำเอาอย่างใดอย่างหนึ่งในกสิณดิน ๑๐ ( เว้นวรรณกสิณ ) หรืออานาปานสติ หรือ อรูป ๔ มาเป็นองค์บริกรรม ๔. สัทธาจริต มีความประพฤติซาบซึ้ง ชื่นบาน เลื่อมใสง่าย หากปรารถนาให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ควรนำอย่างใดอย่างหนึ่งในกสิณอื่น ( เว้นวรรณกสิณ ) หรือ อนุสติ ๖ ข้อแรก หรือ อรูป ๔ มาเป็นองค์บริกรรม ๕. พุทธิจริต มีความประพฤติปกติ ใช้ความคิดพิจารณา ค้นหาความจริง หากปรารถนาให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ควรนำเอาอย่างใดอย่างหนึ่งในกสิณอื่น ( เว้นวรรณกสิณ ) หรือ อุปสมานุสติ หรือ มรณัสสติ หรือ อาหาเรปฏิกูลสัญญา หรือ จตุธาตุววัฏฐาน หรือ อรูป ๔ มาเป็นองค์บริกรรม ๖. วิตกจริต มีความประพฤติปกติ คิดวกวน จับจดฟุ้งซ่าน หากปรารถนาให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ควรนำเอาอย่างใดอย่างหนึ่งในกสิณอื่น ( เว้นวรรณกสิณ ) หรือ อานาปานสติ หรือ อรูป ๔ มาเป็นองค์บริกรรม จากรายละเอียดที่ชี้แจงมา ผู้ถามปัญหาดปรดพิจารณาดูด้วยตัวเอง แล้วเลือกกรรมฐานที่ถูกตรงกับจริตมาบริกรรม โดยมีศีลคุมใจ แล้วเร่งความเพียรปฏิบัติธรรม ( สมถภาวนา ) ทำทุกครั้งที่นึกได้ ทำทุกครั้งที่ว่างจากงานสังคม แล้วผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาจิตย่อมเกิดขึ้นได้ |
2219. คำตอบ |
2218. กราบบเรียนท่านอ.ดร.สนอง ก่อนอื่นหนูต้องขอชมชมรมกัลยาณธรรมที่อ.ดร.สนองเป็นประธานนะคะว่าได้สร้างโอกาสให้หนูและเพื่อนๆได้ฟังธรรม ปกติหนูอยู่บ้านก็ฟังธรรมบรรยายจาก youtube ที่อ.ดร.ได้ให้เมตตาเป็นประจำ ฟังซ้ำๆจะได้เกิดปัญญาฟังแล้วรู้สึกสนุกไม่เบื่อเลย และหวังว่าตัวเองจะทำได้อย่างนั้นสักวันหนึ่ง คำถามของหนูมีอยู่ว่าเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาคือการจัดฟังธรรมครั้งที่ 23 ที่ผ่านมาหนูมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเทวดาชั้นจตุมหาราชิกา คือท้าวจตุมหาราชทั้ง 4 ผู้ปกครองโลกทั้ง 4 ทิศ มีท้าววิรูปักษ์ จอมนาค ครองทิศใต้ ข้อสงสัยของหนูก็คือ (หนูไม่ได้ลบหลู่นะคะ) ความรู้เดิมของหนูคือเทวดาที่อยู่ในตระกูลพญานาคนี้ท่านเป็นเทวดากึ่งสัตว์ (ไม่รู้ว่าถูกหรือป่าวเพราะไม่ได้เปิดอ่านพระไตรปิฎก) แต่วันที่หนูฟังธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ถ้าหนูจำไม่ผิดอ.ดร.บอกว่าพญานาคเป็นสัตว์เดรัจฉาน เลยทำให้หนูสังสัยว่า พญานาคที่เป็นสัตว์เดรัจฉาน แตกต่างกับเทวดาที่เป็นพญานาคอย่างไร คำถามขอหนูอาจจะเป็นคำถามที่ไม่ก่อให้เกิดปัญญาสักเท่าไหร่ แต่ถ้าหนูไม่ได้ถามข้อสงสัยนี้ก็จะทำให้หนูรำคาญใจ และเป็นข้อสงสัยหนูไปเรื่อยๆ สุดท้ายหนูหวังว่าอ.ดร.ให้ความเมตตาต่อหนูช่วยอธิบายให้หนูเกิดปัญญา เพราะคำถามแบบนี้ไปถามผู้ไม่รู้ ความรู้หนูก็ไม่แจ้งนะคะ หนูขอความเมตตาจากอ.ดร.นะคะ กราบขอขอบพระคุณอ.ดร.สนองเป็นอย่างสูงค่ะ คำตอบ พญานาคเป็นสัตว์เดรัจฉาานกายทิพย์ มิได้เป็นเทวดาตามที่เข้าใจ ด้วยเหตุที่เป็นสัตว์เดรัจฉาน พระพุทธโคดมจึงมิได้ทรงอนุญาตให้พญานาคบวชเป็นภิกษุ สัตว์เดรัจฉานมีศีลไม่ครบและมีความหลง ( โมหะ ) สั่งสมอยู่ในดวงจิต จึงไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้ ตายแล้วจึงไปเกิดได้ไม่เกินภพสวรรค์ ที่ตอบมานี้อย่าปลงใจเชื่อตามหลักกาลามสูตร แต่หากผู้ถามปัญหาประสงค์จะพิสูจน์สัจธรรมนี้ ต้องพัฒนาจิต ( สมถภาวนา ) ให้เข้าถึงความตั้งมั่นสูงสุด ( ฌาน ) แล้วความรู้สูงสุดระดับโลกิยญาณ จึงจะรู้ เห็น เข้าใจ เรื่องพญานาคด้วยตนเองได้ |
2217. กราบเรียนถามท่านอาจารย์ 1. หนูก้มกราบพระพุทธเจ้าด้วยใจระลึกถึงท่าน เมื่อได้ทำครั้งใดจิตใจก็เปี่ยมด้วยความสุข นี้เกิดเป็นบุญใช่มั๊ยคะ 2. การกราบพระพุทธเจ้าด้วยใจระลึกถึงท่าน มีอานิสงค์เหมือนกันหรือน้อยกว่ากับผู้ที่ได้กราบพระองค์จริงของท่านในสมัยพุทธกาลคะ ขอบคุณมากค่ะ คำตอบ (๒) อานิสงส์ที่เกิดจากการกราบพระพุทธเจ้า จะมีมากหรือน้อย ให้ดูที่ขนาดของความอิ่มใจ ( ปีติ ) กราบแบบไหนมีปีติเกิดขึ้นมากกว่า การกราบแบบนั้นได้บุญมากกว่า หากเป็นไปในทางตรงกันข้ามได้บุญน้อยกว่า |
2216. ตอนนี้หนูมีความกังวลใจมากเลยค่ะ หนูไปซื้อกระต่ายมาเลี้ยงในหอพัก พอแม่หนูทราบเข้า แม่หนูเป็นกังวลว่า กลัวหนูจะดูแลกระต่ายไม่ดี เพราะมันเป็นลุกกระต่าย อายุ เดือนครึ่งค่ะ แม่หนูบอกว่า ลูกกระต่ายต้องการแม่ แม่บอกให้หนูเอากระต่ายไปคืนที่ร้านค่ะ แต่หนูคิดว่าถึงคืนไปอย่างไร กระต่ายก็ไม่ได้เจอหน้าแม่อยู่ดี เพราะคนขายก็จะเอาไปขายต่อ หนูสงสารมันมากเลยค่ะ หากมันต้องเปลี่ยนที่อยู่บ่อยๆ หนูสับสนลังเลว่า หนูควรเอากระต่ายไปคืนที่ร้านหรือไม่อะค่ะ หนูก็ไม่ทราบความคิดกระต่ายมันหรอกนะคะ ว่ามันอยู่กับหนูแล้วมันมีความสุขรึเปล่า แต่หนูคิดว่า มันก็ค่อนข้างผูกพันธุ์กับหนูอยู่พอสมควรนะค่ะ หนูอยากเลี้ยงมันไว้ อยากเห็นมันมีความสุข หนูขอความกรุณาอาจารย์ช่วยแนะแนวทางให้หนูด้วยนะคะ ด้วยความเคารพอย่างสูง คำตอบ |
2215. เมื่อไม่นานมานี้ หนูได้ร่วมทำบุญ ..โครงการบูรณะปรับปรุงที่ประสูตรของพระพุทธเจ้า... ถือว่าเป็นบุญใหญ่ ไหมคะอาจารย์ แล้วบุญใหญ่ต้องประกอบด้วยอะไรบ้างคะ คำตอบ การปฏิบัติสมถกรรมฐาน มีอานิสงส์ส่งถึงพรหมสมบัติ ซึ่งถือว่าเป็นบุญใหญ่ ส่วนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มีอานิสงส์ให้เข้าถึงนิพพานสมบัติ ซึ่งถือว่าเป็นบุญใหญ่ที่สุด |
2214. กราบสวัสดีอาจารย์ดร.สนองที่เคารพอย่างสูงค่ะ หนูขอกราบเรียนถามอาจารย์ดร.สนอง ในเรื่องของการปฏิบัติ หลังจากฟังธรรมของอาจารย์ และได้เข้ามาเริ่มสนใจทางธรรม ได้ลองเรียนรู้ฟังซีดีธรรมมะและนำแนวทางมาลองปฏิบัติเองบ้าง หาที่ฝึกปฏิบัติสมาธิเองบ้าง และเคยไปเรียนทำสมาธิหลักสูตรหลวงพ่อวิริยังมานั้น ตอนนี้ หนูมาตระหนักว่าหนูควรจะใส่ใจในการปฏิบัติและสังเกต และเร่งพัฒนาจิตใจยิ่งๆขึ้นได้แล้ว ไม่ควรรอให้เนิ่นนานไป จึงมาขอความเมตตาอาจารย์เมตตา ชี้แนวทางที่ถูกคลายความลังเลสงสัยที่มีในตอนนี้ค่ะ 1. ในชีวิตประจำวันทุกวันนี้ เวลาไปทำงาน หรือดำเนินชีวิตปกติประจำวัน สิ่งที่หนูพยายามทำคือ ตื่นมาพยายามระลึกรู้กาย หรือใจ เท่าที่ระลึกได้ คือรู้สึกตัวตามดูกายใจว่านั่งหรือเดิน หรือดูความรู้สึกความคิด...บ้างก็เห็นความไม่เที่ยงของมันเช่นเดี๋ยวอยากเดี๋ยวไม่อยาก และบางครั้งก็สัมผัสได้ว่า มันไม่ใช่ของเรา ไม่สามารถห้ามได้ มันคิดเองตามเรื่องของมัน หนูคอยทำแบบนี้ ระลึกรู้แบบนี้ไปเรื่อย บ่อยครั้งมากก็หลงพลัดไปกับมันยาวนานกว่าจะกลับมารู้สึกตัว นานๆๆครั้งที่จะเห็นเฉยๆและดับไปต่อหน้า หนูทำมาสิ่งที่หนูเห็นประโยชน์จากการรู้สึกตัวเช่นนี้คือ ทำให้บางครั้งก็ไม่ไปเชื่อความคิดตัวเองนักเพราะมันไม่เที่ยง บางครั้งการเห็นความไม่เที่ยง หรือเห็นว่ามันไม่ใช่เราเพราะไม่สามารถบังคับอะไรได้ ก็ทำให้ปล่อยวาง แต่ไม่ได้คิดได้ตลอดค่ะ หนูควรทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ หรือควรปรับปรุงอย่างไรคะ หนูใช้หลักคำสอนของพระอาจารย์ไพศาล , อาจารย์กำพล ในเรื่องรู้สึกตัวเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และพระอาจารย์ปราโมชย์ในการฝึกดูกายดูจิต เป็นแนวทางเดียวกันใช่ไหมคะ 2. พอกลับถึงบ้านก่อนนอน หนูจะพยายามสวดมนต์ และทำสมาธิ และแผ่เมตตา , การทำสมาธิของหนูนั้นเนื่องด้วยเคยฝึกแนวของหลวงพ่อวิริยัง (แนวพุทโธ) มา เวลานั่งสมาธิหนูจะกำหนดพุทโธๆๆวางฐานของจิตไว้ที่หัวใจ บางครั้งก็เกิดความลังเล อยากเปลี่ยนมากำหนดลมหายใจเข้าพุธ หายใจออกโธ เพราะเวลาที่กำหนดพุธโธๆๆยังไม่รู้สึกว่ามันนิ่ง เข้าใจว่าอาจเป็นเพราะความเพียรน้อย แต่เคยไปปฏิบัติธรรมที่วัดท่าซุงนั่งสมาธิตอนเช้า ตอนนั้นยังไม่ได้เรียนสมาธิหลักสูตรของหลวงพ่อวิริยัง หนูจะกำหนดหายใจเข้าพุธ หายใจออกโธ แล้วจำได้ว่าจิตเคยนิ่งมาก นิ่งปิ๊ง แบบนิ่งไม่ง่วงเลย สดชื่น จริตหนูควรจะไปแนวไหนดีคะ หนูเคยลองจะเปลี่ยนไปกำหนดลมเข้าพุธ ลมออกโธ จิตก็กำหนดได้สองสามครั้ง และก็จะกลับไปที่พุทโธๆๆๆที่ฐานของใจใหม่ รู้สึกเหมือนว่าตัวเองสับสนค่ะ และการฝึกเดินจงกรมด้วยนั้น หากจริตหนูเหมาะกับการฝึกแนวหายใจเข้าพุธ หายใจออกโธ การเดินจงกรม หนูควรฝึกแบบ รู้ย่างหนอ เดินหนอ ยกหนอ หรือ ฝึกนึกในใจพุทโธๆๆ ขณะเดินไปเรื่อยๆดีคะ 3. มีคนที่รู้จักกันเขาทักว่าหนูทำบุญอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรไหม เขาบอกว่าเขาเห็นผู้หญิงตามหนูมา ผมยาว ตาขวาง เขาเลยให้หนูทำบุญตอนเช้า และกรวดน้ำให้เขา หนูก็ทำบุญตามที่เขาแนะนำโดยกรวดน้ำ พร้อมระลึกระบุขอผลบุญให้ถึงแด่เจ้ากรรมนายเวรที่มาจองเวรปองร้าย เขาจะได้รับไหมคะ หนูทำถูกไหมคะ หลังๆมาเวลาหนูทำบุญหนูจะไม่ค่อยได้กรวดน้ำได้แต่ระลึกเอา พี่เขาบอกว่ามันไม่ถึงค่ะ และพี่เขาแนะนำให้ทำในตอนเช้า หากทำตอนบ่ายจะเหมือนทำให้แก่ตัวเราเอง แต่หนูไม่ว่าทำเช้าบ่ายก็จะระลึกเสมอไปก่อนเลยค่ะ และการทำสมาธิและนึกอุทิศให้แด่เจ้ากรรมนายเวร โดยไม่ได้กรวดน้ำ เขาจะได้ผลบุญนี้ไหมคะ ในบางโอกาสด้วยความจำกัดของเวลาหนูก็จะระลึกสั้นๆว่า สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข สัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์ บางครั้งจิตหนูก็กลัวมาก กลัวเขาโผล่มาให้เห็น เขาสามารถเข้าบ้านเราได้ไหมคะ บางครั้งขาดสติจินตนาการจนกลายเป็นไม่กล้านั่งสมาธิ หนูควรเสริมกำลังใจอย่างไรดีคะ 4. การที่เราำปฏิบัติธรรมที่วัด เวลาที่จะอุทิศบุญกุศล... เรากับเพื่อนรวมใจกันน้อมขอบุญนี้ ให้ส่งผลถึงแด่เจ้ากรรมนายเวรของแต่ละคน อย่างนี้จะช่วยให้มีพลังบุญมากขึ้นไปถึงเขาใช่ไหมคะ 5. หนูแต่งงานแล้วตอนนี้วางแผนมีลูก ทีแรกตั้งใจว่าจะไม่มีเพราะฟังธรรมแล้วคิดว่าการเกิดเป็นทุกข์ แต่ไปๆมาๆคิดใหม่ว่าครอบครัว หากมีลูกหนึ่งคนเหมือนเราเลี้ยงดูเขา และเผื่อในยามแก่เฒ่าเขาได้ดูแลเรา อธิษฐานไว้เหมือนเป็นกัลยาณมิตรต่อกันและใช้ชีวิตนี้พัฒนาตัวเองเป้าหมายเพื่อการไม่กลับมาเกิดอีก เป็นมิจฉาทิฐฐิไหมคะ , ในเพศฆราวาสแบบนี้จะมีดวงตาเห็นธรรม หรือมีโอกาสบรรลุธรรมหรือปิดอบายภูมิได้ไหมคะ ด้วยความเคารพอย่างสูง คำตอบ (๒) คำว่า อาจ ไม่มีในพุทธศาสนา แต่มีคำว่าเหตุและผลเท่านั้น ปฏิบัติสมถกรรมฐานจะโดยวิธีใดก็ตาม เมื่อปฏิบัติได้ถูกตรงแล้ว จิตย่อมมีสติและเข้าถึงความตั้งมั่นเป็นสมาธิ ดังนั้นพึงเลือกปฏิบัติเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จะได้ไม่เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ (๓) พระพุทธโคดมไม่เคยสอนให้เชื่อ เช่น สอนชาวกาลามะ มิให้เชื่อในเรื่อง ๑๐ อย่าง ( กาลามสูตร ) ดังนั้นบุคคลจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับการกระทำของตน บุคคลประพฤติบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ในห้วงเวลาไหนๆย่อมมีบุญเกิดขึ้น ผู้มีบุญสามารถอุทิศบุญให้กับผู้อื่นได้ในทุกเวลาที่ต้องการ และเมื่ออุทิศบุญแล้ว จะกรวดน้ำหรือไม่กรวดน้ำ บุญนั้นย่อมส่งไปถึงผู้ที่ถูกอุทิศให้ได้ หากเขาอยู่ในสภาวะที่มาอนุโมทนาบุญได้ เขาก็ได้รับบุญนั้น ตรงกันข้าม ถ้าไม่มาอนุโมทนาบุญ เขาก็ไม่ได้รับบุญนั้น ความกลัว มีเหตุจากความไม่รู้จริงในสิ่งที่กลัว ฉะนั้นพึงแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ผู้เข้าถึงปัญญาเห็นแจ้งในสรรพสิ่ง ( ดวงตาเห็นธรรม ) ย่อมไม่มีความกลัวในสิ่งใดๆทั้งสิ้น (๔) ใช่ครับ (๕) ผู้เห็นถูกตามธรรม ไม่หวังพึ่งสิ่งอื่นใดนอกจากธรรมะ การหวังพึ่งผู้อื่นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ส่วนการพัฒนาจิตจนพ้นไปจากวัฏฏะเป็นสัมมาทิฏฐิ ในครั้งพุทธกาล พระนางเขมา มเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร , กัญจนะ บุตรของปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต , พาหิยะ ลูกพ่อค้า ฯลฯ มีดวงตาเห็นธรรมระดับอรหัตตผล ขณะยังอยู่ในเพศของฆราวาส นับประสาอะไรที่คนในยุคปัจจุบัน จะเข้าถึงดวงตาเห็นธรรมไม่ได้ |
2213. คำตอบ (๒) ถือว่าเป็นความก้าวหน้าระดับหนึ่งในการพัฒนาจิต |
2212. ผมเคยเขียนไปถามเรื่อง บวชวัดที่ใกล้บ้าน แถวประชาชื่นใกล้ซอยสามมัคคี คำตอบ หากผู้ถามปัญหาปรารถนาเข้าถึงธรรมอย่างถูกตรงและเร็วที่สุด ต้องประพฤติตามหลักไตรสิกขา ( ศีล สมาธิ ปัญญา ) โดยเร่งความเพียร และมีบุญเก่าส่งผล เมื่อเหตุปัจจัยลงตัว ผลการเข้าถึงธรรมย่อมเกิดได้เมื่อนั้น ครูบาอาจารย์ที่เป็นสุปฏิปันโนอีกท่านหนึ่ง คือ เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ จังหวัดอยุธยา ผู้ที่มีจิตยึดติดกับการไปมาที่สะดวกของญาติโยม ถือว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งเป็นเหตุให้ยากต่อการเข้าถึงธรรม และการทำความดีไม่ขึ้นอยู่กับฤกษ์ยาม ดังนั้นจะบวชเป็นภิกษุหรือลาสิกขา จะทำเวลาใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ถามปัญหา การแหกพรรษาเป็นเรื่องที่ออกจากปากคนที่ไม่รู้จริง พระพุทธโคดมมีเหตุผลถูกตรงตามความเป็นจริงแท้ พระองค์มิได้ตรัสเช่นนั้น |
2211. คำตอบ ส่วนการพัฒนาจิตตามข้อ ๗ ที่ถามไป ถือได้ว่าเป็นการกระทำให้เกิดบุญใหญ่ แต่เงื่อนไขมีอยู่ว่า ผู้ปรารถนาเข้าถึงธรรมที่ปฏิบัติ ต้องมีศีล ๕ คุมใจทุกขณะตื่น ( กาย วาจา ใจ ตรงกัน ) พร้อมทั้งมีอิทธิบาท ๔ สนับสนุน ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติธรรมจึงจะเกิดขึ้นได้ |
2210. คำตอบ |
2209. คนที่ไม่ผิดศีล 5 แต่เป็นคริสเตียน ไม่ได้ทำบุญเค้าจะตกนรกใหมครับ คำตอบ |
2208. คำตอบ เกจิอาจารย์หลายปากพูด ยังไม่เท่ากับการกระทำของตน หากผู้ถามปัญหาปรารถนานำพาชีวิตไปสู่ความพ้นทุกข์แล้ว การบำเพ็ญทาน รักษาศีล และการทำจิตตภาวนา ยังเป็นหนทางที่องคุลีมาล ( จอมโจรแห่งแคว้นโกศล ) นำมาประพฤติปฏิบัติ แล้วมีจิตบรรลุอรหัตตผลได้ อัมพปาลี ( โสเภณีแห่งแคว้นวัชชี ) ปฏิบัติแล้วยังบรรลุอรหัตตผลได้ สิริมา ( โสเภณีแห่งแคว้นมคธ ) ปฏิบัติแล้วมีจิตบรรลุโสดาปัตติผล ( ปิดอบายภูมิ ) ได้ ฯลฯ ประสาอะไรกับผู้ถามปัญหา หากปรารถนาความเจริญสูงสุดของชีวิต พึงมีศรัทธาประพฤติตามบุคคลที่ยกตัวอย่างมาให้ดู โดยมีศีล มีสัจจะคุมโต แล้วเร่งความเพียรประพฤติปฏิบัติธรรมดังกล่าว แล้วความสมปรารถนาย่อมเข้าถึงได้ (๒) ผู้มีจิตเห็นถูกตามธรรม ย่อมไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ ไม่คิดในทางลบกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิต และไม่ท้อถอยในการทำความดีให้มีกำลังยิ่งขึ้น ไฟฟ้าดับเป็นเรื่องภายนอก ผู้รู้ย่อมมีสติไม่เอาจิตไประลึกอยู่กับแสงสว่างของไฟฟ้า ตรงกันข้าม เอาจิตไประลึกอยู่กับเรื่องที่เป็นปัจจุบันขณะ แล้วจิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ เรื่องเด็กเจ็ดขวบไปขึ้นเบรกเก้อ (breaker) ไฟฟ้า หรือเรื่องฝรั่งนั่งรถมอเตอร์ไซด์ ก็เป็นเรื่องของเขา มิใช่เรื่องของเรา ( สามีภรรยา ) ที่ปรารถนาจะสร้างศรัทธา และนั่งภาวนาให้จิตมีความก้าวหน้าในทางธรรม ฉะนั้นพึงเว้นไม่เอาจิตไปจดจ่ออยู่กับสิ่งอันมิได้เป็นสาระกับชีวิตเช่นนั้น |
2207. คำตอบ (๒) เหตุเพราะจิตขาดสติ อารมณ์ฟุ้งซ่านจึงเกิดขึ้นยาวนาน แต่เมื่อจิตตามระลึกได้ทันความคิด และปัญญาเห็นแจ้งตามมาให้ผล จึงได้เห็นว่า ความคิดที่เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ( อนัตตา ) จิตจึงปล่อยวางความคิดที่ไม่ดีลงได้ (๓) คำว่า ดับ หมายถึง สูญสิ้นไป จิตเป็นพลังงานชนิดหนึ่งที่ไม่เคยดับ แต่กิเลสที่สั่งสมอยู่ในดวงจิตสามารถทำให้ดับไปได้ เช่น ทำสัญญาและเวทนาดับลงชั่วคราว ( สัญญาเวทยิตนิโรธ ) หรือทำให้สังโยชน์ ๑๐ ดับไปจากจิตได้อย่างถาวร แล้วมีผลทำให้จิตพ้นไปจากการวนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร (๔) ขณะสวดมนต์จิตมิได้จดจ่ออยู่กับบทมนต์ที่สวด แต่จิตไปจดจ่ออยู่กับสิ่งกระทบภายนอก อย่างนี้เรียกว่า จิตขาดสติ อารมณ์ฟุ้งซ่านจึงได้เกิดขึ้น ตรงกันข้าม ขณะสวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ แล้วจิตจดจ่ออยู่กับอิริยาบถที่กล่าว อย่างนี้เรียกว่า จิตมีสติกำกับอิริยาบถ |
2206. คำตอบ (๒) คำว่า ปฏิบัติธรรม ไม่สมควรแก่ธรรม นั้นหมายความว่า ไม่ปฏิบัติธรรมให้เป็นไปตามขั้นตอน ที่ผู้มีความเป็นสัพพัญญูตรัสไว้ พระพุทธโคดมสอนภิกษุให้ปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ( ศีล สมาธิ ปัญญา ) หากไม่เอาศีลลงคุมให้ถึงใจ เมื่อปฏิบัติสมถกรรมฐาน จิตย่อมไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตที่ไม่เป็นสมาธิ เมื่อนำไปพัฒนาต่อด้วยวิปัสสนากรรมฐาน จิตย่อมไม่เกิดปัญญาเห็นแจ้ง อย่างนี้เรียกว่า ปฏิบัติธรรม ไม่สมควรแก่ธรรม (๓) หากยังคงทำเช่นนี้ต่อไป จะเกิดผลในทางที่ไม่ดีกับชีวิต คือทำให้จิตมีความเห็นผิดมากขึ้น ส่งผลให้อวัยวะของร่างกายต้องทำงานหนัก โดยมิได้นำพาชีวิตไปสู่ความพ้นทุกข์ (๔) อาการที่บอกเล่าไป มิได้เป็นเหตุเนื่องมาจากวิปัสสนา แต่เป็นเหตุที่เนื่องมาจากจิต ยังเข้าไม่ถึงความตั้งมั่นเป็นสมาธิจวนแน่วแน่ ( อุปจารสมาธิ ) |
2205. คำตอบ (๒) บิดาสามารถอนุโมทนาบุญ ที่ผู้เป็นบุตรอุทิศให้ได้ และเมื่อบิดาได้รับบุญแล้ว สามารถส่งบุญต่อให้กับเจ้ากรรมนายเวรได้ แต่เจ้ากรรมนายเวรจะยกเลิกการจองเวรหรือไม่นั้น เป็นสิทธิ์ของเขา (๓) การเข้าปฏิบัติธรรม บุญใหญ่ย่อมเกิดขึ้นกับผู้เข้าปฏิบัติ ส่วนจำนวนวันที่เข้าปฏิบัติธรรม ยังไม่สำคัญเท่ากับสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในดวงจิตของผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติธรรมที่มีสภาวธรรมในดวงจิตเป็นอริยบุคคล ถือว่าบุญใหญ่ได้เกิดขึ้นกับผู้นั้นมากกว่าวันเวลาที่เข้าปฏิบัติ (๔) พระพุทธโคดมได้ตรัสไว้ในทำนองที่ว่า ธรรมย่อมคุ้มรักษาผู้ประพฤติ ( มี ) ธรรม นั้นเป็นความจริงแท้แน่นอน ดังนั้นผู้ใดประพฤติธรรมแล้วมีพฤติกรรม ( คิด พูด ทำ ) ถูกตรงตามธรรมวินัยอยู่ทุกขณะตื่น ผู้นั้นย่อมมีธรรมคุ้มรักษาชีวิตมิให้วิบัติได้ |
2204. คำตอบ |
2203. คำตอบ (๒) มิเพียงแต่มีความรู้เรื่องสงสาร ( กรุณา ) แต่ยังต้องพัฒนาตนเองให้มีความสงสารอยู่ในจิตตนเองให้ได้ก่อน ตลอด ๔๕ พรรษาที่พระพุทธโคดมออกเผยแพร่ธรรม พระพุทธองค์ทรงสอนทางอยู่รอดของชีวิต ให้พุทธศาสนิกผู้ศรัทธานำไปประพฤติปฏิบัติด้วยตัวเองแล้ว ผลสัมฤทธิ์ในสิ่งที่ตนปรารถนาจึงจะเกิดขึ้นได้ ตรงกันข้าม ผู้ใดรู้ทางที่พระองค์ทรงชี้แนะแล้ว แต่ไม่นำไปทำด้วยตนเอง พระองค์ก็ทรงปล่อยวางจนใจว่างเป็นอุเบกขา ( ช่วยเท่าที่ช่วยได้ ) ทั้งนี้เพราะผู้รู้จริงแท้รู้ว่า สัตว์บุคคลมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย บุคคลจะดี จะชั่ว จะเลว จะหยาบ ขึ้นอยู่กับการกระทำ ( กรรม ) ของตัวเองเป็นต้นเหตุ (๓) ผู้ใดมีจิตคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ เรียกผู้นั้นว่าเป็นพระโพธิสัตว์ ผู้มีจิตแน่วแน่อยู่ในปฏิปทาเช่นนี้ ย่อมต้องผจญกับความยากลำบากของชีวิต หากมีขันติสามารถอดทนได้ บารมีย่อมเกิดตามมาให้ผู้นั้นได้รับ (๓.๑) จะปล่อยวางหรือจะเอาชีวิตของผู้อื่นมาเป็นภาระ ( แบก ) ก็อยู่ที่ความปรารถนาของผู้ถามปัญหา พระนิยตโพธิสัตว์ทรงแบกภาระของสัตว์โลก เพื่อหวังความสำเร็จโพธิญาณในวันข้างหน้า ตรงกันข้าม พระอนิยตโพธิสัตว์ มีจิตท้อแท้ต่อความยาวนานของการบำเพ็ญบารมี จึงต้องลาพุทธภูมิ ดังที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง (๓.๒) ถูกครับ ช่วยเท่าที่ช่วยได้ เพราะแต่ละคนมีชีวิตเป็นของตัวเอง จึงต้องบริหารจัดการชีวิตด้วยตัวเอง ตามกำลังศรัทธาของแต่ละคนที่ทำสั่งสมมาแต่อดีต (๔) วางจิตให้เป็นอุเบกขาชั่วคราว สามารถทำได้ด้วยการพัฒนาจิต ( สมถภาวนา ) จนเข้าถึงรูปฌานที่ ๔ ( อุเบกขา เอกัคคตา ) และหากปรารถนาให้จิตปล่อยวางเป็นอุเบกขาอย่างพระ ต้องพัฒนาจิต ( วิปัสสนาภาวนา ) จนเกิดปัญญาเห็นแจ้ง แล้วใช้ปัญญาเห็นแจ้งพิจารณาทุกสิ่งที่เข้าสัมผัสจิต ว่าล้วนต่างดำเนินไปสู่ความเป็นอนัตตาได้แล้ว จิตย่อมปล่อยวางสิ่งที่ไม่ใช้ตัวตน แล้วความว่าง ( อุเบกขา ) จึงจะเกิดขึ้น (๕) ผู้ใดทำกรรมปัจจุบันไว้เป็นเหตุที่ไม่เหมือนกับผู้อื่น เมื่อกรรมให้ผลเป็นวิบาก ผู้นั้นย่อมเสวยวิบากของกรรมที่ต่างจากผู้อื่น หรือจะพูดได้ในอีกทางหนึ่งว่า ศรัทธานำมาซึ่งการกระทำ ( กรรม ) ผู้มีศรัทธาที่แตกต่างกันย่อมทำกรรมไว้เป็นเหตุที่ไม่เหมือนกัน (๖) ท่านเจ้าคุณโชดก เคยพูดกับผู้ตอบปัญหาว่า ถ้าไม่เอาศีลลงคุมให้ถึงใจ จิตย่อมไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ดังนั้นผู้ถามปัญหาพึงดูตัวเอง แล้วปรับแก้ไขให้ถูกตรงได้เมื่อใด เมื่อนำจิตไปพัฒนา ( สมถภาวนา ) จิตย่อมเข้าถึงความตั้งมั่นเป็นสมาธิ ใจที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ย่อมเข้าถึงปัญญาเห็นแจ้งได้ ตามหลักของไตรสิกขา ( ศีล สมาธิ ปัญญา ) นั่นเอง |
2202. กราบเท้า ดร.สนอง ที่เคารพอย่างสูงค่ะ เนื่องจากคุณพ่อเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 2 ปีค่ะ และมีปืนในครอบครองอย่างถูกกฎหมาย 3 กระบอก คุณพ่ออยู่ชมรมยิงปืนค่ะ ตอนนี้หนูกับน้องชายมีความเห็นไม่ตรงกัน เพราะน้องชายอยากให้ขาย เพราะยังไงเราก็ไม่ได้ใช้ หนูก็บอกว่าไม่สบายใจ เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ไม่ให้ขายอาวุธ ถึงแม้ว่าเราจะเจตนาแค่ขายเพราะไม่ได้ใช้ประโยชน์ แต่ถ้าคนที่ซื้อไปเอาไปฆ่าหรือทำร้ายใคร เราจะมีส่วนในบาปนั้น(หนูเข้าใจผิด ถูกอย่างไรค่ะ) น้องชายก็บอกว่า หนูเข้าใจผิดแล้ว เราไม่ได้ขายเป็นอาชีพ และก็เอาเงินที่ได้มาจะเอาไปทำบุญบริจาคอุทิศส่วนกุศล ให้กับพ่อพี่ที่เป็นคนซื้อมาก็ได้ ส่วนคนที่ซื้อไปถ้าเขาจะเอาไปทำบาปก็เป็นบาปของเขาเราไม่เกี่ยว และก็มีเหตุผลอื่นๆมาบอกหนูดังนี้ค่ะ 1) เราขายให้กับคนที่เค้ามีอาชีพนี้จริงๆ เช่น ตำรวจ ทหาร หรือขายให้กับสนามยิงปืน เพราะเค้ามีจุดประสงค์ให้ใช้สำหรับการยิงปืนภายในไม่ได้นำออกไปยิงคนข้างนอก 2) เราไม่ได้เบียดเบียนใคร 3) อย่าเอาของไม่เป็นมงคลเก็บไว้กับตัว สมมุติคนอื่นมาบ้าน มาเด็กมาบ้าน คนไม่รู้เรื่องมา มันอันตราย ( หนูแยกเก็บลูกกระสุนไว้อีกบ้านหนึ่งแล้วเพื่อความปลอดภัยค่ะ) รบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะ ให้หนูด้วยค่ะ ไม่อยากผิดศีลหรือผิดธรรมเลยค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ คำตอบ (๑) กรรมอยู่ที่เจตนา หากมีเจตนาขายที่มิได้เป็นไปในทางที่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล และไม่ผิดธรรม ถือว่าการซื้อขายนั้นมีเจตนาเป็นกุศล (๒) การไม่ประพฤติเบียดเบียนสัตว์บุคคล ถือว่าเป็นกุศลกรรม (๓) การกระทำที่บอกเล่าไปเป็นพฤติกรรมดี ( กุศลกรรม ) ผู้หวังความสวัสดีของชีวิต สามารถทำได้ |
2201. คำตอบ |